ปัญหาและเฉลยวิชาอุโบสถศีล (วินัย)  ธรรมศึกษาชั้นโท พ.ศ. ๒๕๕๙

  1. อุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับใคร
    1. ภิกษุ
    2. ภิกษุณี
    3. สามเณร
    4. อุบาสกอุบาสิกา
  2. อุโบสถศีล พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้กี่สิกขาบท
    1. 5 สิกขาบท
    2. 8 สิกขาบท
    3. 10 สิกขาบท
    4. 227 สิกขาบท
  3. อุโบสถศีลในพระพุทธศาสนา แบ่งประเภทตามระยะเวลาการรักษามีเท่าไร
    1. 2 ประเภท
    2. 3 ประเภท
    3. 4 ประเภท
    4. 5 ประเภท
  4. อุโบสถศีลที่กำหนดให้รักษาวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ตรงกับข้อใด
    1. ปกติอุโบสถ
    2. ปฏิชาครอุโบสถ
    3. ปาฏิหาริยอุโบสถ
    4. นิพัทธอุโบสถ
  5. ปฏิชาครอุโบสถ มีระยะเวลาในการสมาทานรักษานานเท่าไร
    1. วันหนึ่งคืนหนึ่ง
    2. คราวละ 3 วัน
    3. ปีละ 3 เดือน
    4. ตลอดชีวิต
  6. อุโบสถที่ต้องรักษาติดต่อกันเป็นระยะเวลา 4 เดือนในฤดูฝน เรียกว่าอะไร
    1. ปกติอุโบสถ
    2. ปฏิชาครอุโบสถ
    3. ปาฏิหาริยอุโบสถ
    4. อริยอุโบสถ
  7. อุโบสถประเภทใด ให้ผลมากแก่ผู้สมาทานรักษา
    1. โคปาลกอุโบสถ
    2. นิคัณฐอุโบสถ
    3. อริยอุโบสถ
    4. ถูกทุกข้อ
  8. อุโบสถใด เป็นการรักษาคำนึงถึงผลประโยชน์เหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค
    1. โคปาลอุโบสถ
    2. นิคัณฐอุโบสถ
    3. อริยอุโบสถ
    4. ปกติอุโบสถ
  9. ข้อใดเป็นอานิสงส์สูงสุดของการรักษาอุโบสถศีล
    1. เข้าถึงสุคติ
    2. มีโภคสมบัติ
    3. มีสุขภาพแข็งแรง
    4. เข้าถึงนิพพาน
  10. การถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก เรียกว่าอะไร
    1. ไตรลักษณ์
    2. ไตรสิกขา
    3. ไตรภูมิ
    4. ไตรสรณคมณ์
  11. การขาดจากสรณคมน์ อาจเกิดขึ้นได้กับบุคคลใด
    1. บุคคลทั่วไป
    2. พระโสดาบัน
    3. พระสกทาคามี
    4. พระอนาคามี
  12. คำว่าอุโบสถ แปลว่าอะไร
    1. การจำพรรษา
    2. การปฏิบัติธรรม
    3. การเข้าจำ
    4. การอดอาหาร
  13. การทำชีวิตสัตว์ให่ตกล่วงไป เรียกว่าอะไร
    1. ปาณาติบาต
    2. อทินนาทาน
    3. อพรหมจรรย์
    4. มุสาวาท
  14. อุโบสถศีลข้อที่ 1 บัญญัติขึ้นเพื่อต้องการให้ผู้รักษาเป็นคนเช่นไร
    1. ขยัน
    2. อดทน
    3. ซื่อสัตย์
    4. มีเมตตา
  15. การล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ 1 ย่อมได้รับผลกรรมอย่างไร
    1. อายุสั้น
    2. เสียทรัพย์
    3. ก่อศัตรู
    4. ขาดความเชื่อมั่น
  16. ข้อใดไม่ใช่อานิสงส์การรักษาอุโบสถศีลข้อที่ 1
    1. มีร่างกายสมบูรณ์
    2. มีสติสมบูรณ์
    3. มีกำลังมาก
    4. มีอายุยืน
  17. ข้อใดเป็นองค์ทำให้การรักษาอุโบสถศีลข้อที่ 1 ขาด
    1. สัตว์ตาย
    2. ลักของมาได้
    3. ยินดีในการเสพ
    4. คนอื่นเข้าใจคำพูด
  18. ผู้สมาทานรักษาอุโบสถข้อที่ 2 ให้งดเว้นการกระทำใด
    1. ฆ่าสัตว์
    2. ลักทรัพย์
    3. ล่วงประเวณี
    4. พูดเท็จ
  19. ความพยายามลักทรัพย์ เป็นเหตุให้อุโบสถศีลข้อใดขาด
    1. ข้อ 1
    2. ข้อ 2
    3. ข้อ 3
    4. ข้อ 4
  20. ข้อใด ขาดเพราะกระทำเองหรือใช้ให้คนอื่นกระทำ
    1. อทินนาทาน
    2. อพรหมจรรย์
    3. สุราเมรัย
    4. วิกาลโภชนา
  21. ยากจนเข็ญใจไร้ที่พึ่ง เป็นโทษการล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อใด
    1. ปาณาติบาต
    2. อทินนาทาน
    3. มุสาวาท
    4. สุราเมรัย
  22. ประพฤติงดเว้นจากการเสพเมถุน เป็นการรักษาอุโบสถศีลข้อใด
    1. ข้อที่ 1
    2. ข้อที่ 2
    3. ข้อที่ 3
    4. ข้อที่ 4
  23. อุโบสถศีลข้อที่ 3 บัญญัติขึ้นเพื่อระงับกิเลสใด
    1. ความกำหนัด
    2. ความโกรธ
    3. ความพยาบาท
    4. ความริษยา
  24. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี ให้งดเว้นการกระทำผิดทางทวารใด
    1. กายทวาร
    2. วจีทวาร
    3. มโนทวาร
    4. ไตรทวาร
  25. ข้อใด เป็นเหตุให้อุโบสถศีลข้อที่ 3 ขาดโดยสมบูรณ์
    1. วัตถุที่เสพ
    2. จิตคิดจะเสพ
    3. พยายามเสพ
    4. มีความยินดี
  26. การประพฤติพรหมจรรย์ในอุโบสถศีลข้อที่ 3 ให้งดเว้นอะไร
    1. การฆ่าสัตว์
    2. การลักทรัพย์
    3. การเสพกาม
    4. การดื่มสุรา
  27. การเจรจาให้คลาดเคลื่อนจากความจริง เรียกว่าอะไร
    1. อทินนาทาน
    2. อพรหมจรรย์
    3. มุสาวาท
    4. สุราเมรัย
  28. ข้อใดเป็นวัตถุประสงค์ของการบัญญัติอุโบสถศีลข้อที่ 4
    1. ให้ขยัน
    2. ให้ประหยัด
    3. ให้ซื่อสัตย์
    4. ให้อดทน
  29. การแสดงความเท็จให้คนอื่นเข้าใจผิด ทำได้ทางใดบ้าง
    1. กาย วาจา
    2. กาย ใจ
    3. วาจา ใจ
    4. กาย วาจา ใจ
  30. ข้อใดเป็นเหตุให้อุโบสถศีลข้อที่ 4 ขาดโดยสมบูรณ์
    1. สัตว์มีชีวิต
    2. พยายามลัก
    3. พยายามเสพ
    4. คนอื่นเข้าใจตามที่พูด
  31. โทษของผู้ประพฤติผิดอุโบสถศีลข้อที่ 4 คือข้อใด
    1. อาบุสั้น
    2. ลัมละลาย
    3. ก่อศัตรู
    4. ขาดความเชื่อถือ
  32. อุโบสถศีลข้อใด ทำให้ผู้รักษามีสติสัมปชัญญะสมบูรณฺ์
    1. ข้อ 3
    2. ข้อ 4
    3. ข้อ 5
    4. ข้อ 6
  33. ข้อใด ไม่ใช่สิ่งเสพติดให้โทษในอุโบสถศีลข้อท่ 5
    1. กัญชา
    2. เฮโรฮีน
    3. ยาบ้า
    4. ยานัตถุ์
  34. ข้อใด ไม่ใช่สิ่งเสพติดให้โทษในอุโบสถศีลข้อที่ 5
    1. จิตคิดจะฆ่า
    2. จิตคิดจะลัก
    3. จิตคิดจะพูดให้ผิด
    4. จิตคิดจะดื่ม
  35. ข้อใดเป็นโทษของการล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ 5
    1. อายุสั้น
    2. ยากจน
    3. ก่อศัตรู
    4. เป็นบ้า
  36. อานิสงส์ของผู้รักษาศีลข้อที่ 5 คือข้อใด
    1. มีทรัพย์มาก
    2. มีปัญญามาก
    3. จิตผ่องใส
    4. จิตไม่ฟุ้งซ่าน
  37. การไม่บริโภคอาหารในเวลาวิกาล เป็นอุโบสถศีลข้อใด
    1. ข้อ 2
    2. ข้อ 3
    3. ข้อ 6
    4. ข้อ 7
  38. คำว่า วิกาล ในอุโบสถศีล หมายถึงเวลาใด
    1. เช้า
    2. สาย
    3. ก่อนเที่ยง
    4. หลังเที่ยงถึงอรุณขึ้น 
  39. วิกาลโภชนา เวรมณี เว้นการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ เว้นทางใด
    1. กาย
    2. วาจา
    3. ใจ
    4. กาย วาจา ใจ
  40. ข้อใดเป็นเหตุให้อุโบสถศีลข้อที่ 6 ขาดโดยสมบูรณ์
    1. เวลาวิกาล
    2. ของนั้นเป็นอาหาร
    3. พยายามกิน
    4. ของล่วงลำคอลงไป
  41. ข้อใดเป็นโทษของการล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ 6
    1. เป็นบ้า
    2. ล้มละลาย
    3. หดหู่เซี่องซึม
    4. ติดความสบาย
  42. อานิสงส์ของผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ 6 คือข้อใด
    1. มีปัญญามาก
    2. บรรเทากามคุณ
    3. จิตผ่องใส
    4. ชีวิตสมถะ
  43. การประดับกายด้วยของหอม เป็นข้องดเว้นของผู้รักษาอุโบสถศีลข้อใด
    1. ข้อ 1
    2. ข้อ 3
    3. ข้อ 5
    4. ข้อ 7
  44. การร้องรำทำเพลง เป็นข้องดเว้นของผู้รักษาอุโบสถศีลข้อใด
    1. ข้อ 5
    2. ข้อ 6
    3. ข้อ 7
    4. ข้อ 8
  45. คำว่า นัจจะ ในอุโบสถศีลข้อที่ 7 แปลว่าอะไร
    1. การฟ้อนรำ
    2. การขับร้อง
    3. ประโคมดนตรี
    4. ดูการละเล่น
  46. อุโบสถศีลข้อที่ 7 ผู้สมาทานรักษาต้องงดเว้นการกระทำใด
    1. ดูการละเล่น
    2. ออกกำลังกาย
    3. ทานเนื้อสัตว์
    4. ห้ามพูดคุยกัน
  47. คำว่าข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ในอุโบสถศีลข้อที่ 7 หมายถึงอะไร
    1. ฟ้อนคำ
    2. ขับร้อง
    3. ดีดสีตีเป่า
    4. ถูกทุกข้อ
  48. อุโบสถศีลข้อที่ 8 บัญญัติขึ้นเพื่อให้ผู้สมาทานรักษา ตัดกังวลเรื่องใด
    1. การบริโภค
    2. การนั่งนอน
    3. การแต่งตัว
    4. การสนทนา
  49. ที่นอนประเภทใด ทรงอนุญาตสำหรับผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลข้อที่ 8
    1. ที่นอนยัดนุ่น
    2. ที่น้อนยัดสำลี
    3. ที่นอนวิจิตร
    4. ที่นอนยัดผ้า
  50. ข้อใดเป็นเหตุให้อุโบสถศีลข้อที่ 8 ขาดโดยสมบูรณ์
    1. มีความยินดี
    2. สำเร็จการดู
    3. ตกแต่งเพื่อสวยงาม
    4. นั่งนอนลงไป