ปัญหาและเฉลยวิชาเบญจศีลเบญจธรรม  ธรรมศึกษาชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๔๙

๑. คุณธรรมอะไร เป็นเครื่องป้องกันความชั่วทางกายวาจา ?

  1. ทาน
  2. ศีล
  3. สมาธิ
  4. ปัญญา

๒. คุณธรรมอะไร ทำให้คนเป็นคนที่สมบูรณ์ ?

  1. ศีล ๕
  2. อิทธิบาท ๔
  3. โอวาท ๓
  4. โลกธรรม ๘

๓. คำว่า “สัตว์มีชีวิต” ในศีลข้อปาณาติบาต ตรงกับข้อใด ?

  1. มนุษย์
  2. สัตว์ปีก
  3. มด แมลง
  4. ถูกทุกข้อ

๔. อาชีพใด รักษาศีลข้อปาณาติบาตได้ยาก ?

  1. ฆ่าสัตว์
  2. ค้ามนุษย์
  3. ขายเหล้า
  4. ขายบุหรี่

๕. การเลี้ยงเสือไว้ในกรง เป็นการทรมานสัตว์ลักษณะใด ?

  1. เล่นสนุก
  2. ใช้การ
  3. ผจญสัตว์
  4. กักขัง

๖. การกระทำใด ไม่ใช่การทำร้ายร่างกาย ?

  1. ทำให้พิการ
  2. ทำการผ่าตัด
  3. ทำให้เสียโฉม
  4. ทำให้บาดเจ็บ

๗. ข้อใด ไม่ใช่การรักษาศีลข้ออทินนาทาน ?

  1. หากินทุจริต
  2. หากินสุจริต
  3. ไม่เห็นแก่ได้
  4. รู้จักแบ่งปัน

๘. การซ่อนสิ่งของหลบหนีภาษี จัดเข้าในโจรกรรมใด ?

  1. เบียดบัง
  2. สับเปลี่ยน
  3. ลักลอบ
  4. ยักยอก

๙. การถือเอาสิ่งของคนอื่น มิได้บอกให้เจ้าของรู้ ตรงกับข้อใด ?

  1. หลอก
  2. ลวง
  3. ลักลอบ
  4. หยิบฉวย

๑๐. การทำลายทรัพย์ผู้อื่นให้เสียหาย ชื่อว่าผลาญ ตรงกับข้อใด ?

  1. ปล้นร้านขายทอง
  2. ขโมยของในห้าง
  3. รับส่วยรถบรรทุก
  4. ลอบเผาโรงเรียน

๑๑. การละเมิดศีลข้ออทินนาทาน ส่งผลให้เกิดเป็นคนเช่นไร ?

  1. คนอายุสั้น
  2. คนยากจน
  3. คนพิการ
  4. คนขาดสติ

๑๒. “กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี” บัญญัติขึ้นมิให้ประพฤติผิดเรื่องใด ?

  1. นอกใจคู่ครอง
  2. พูดสับปรับ
  3. ค้ายาเสพติด
  4. ทุจริตที่ดิน

๑๓. หญิงที่เป็นวัตถุต้องห้ามของชาย ตรงกับข้อใด ?

  1. หญิงที่มารดารักษา
  2. หญิงที่บิดารักษา
  3. หญิงที่สามีรักษา
  4. ถูกทุกข้อ

๑๔. คำพังเพยใด สนับสนุนการถือศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร ?

  1. ปากปราศัย ใจเชือดคอ
  2. ปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย
  3. ช้านักน้ำลง จะหมดทาง
  4. มีไม้มีไร่ ก็ปลูกเรือนงาม

๑๕. การรักษาศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร ได้ชื่อว่าเว้นอบายมุขข้อใด ?

  1. เที่ยวผู้หญิง
  2. เล่นการพนัน
  3. ดื่มน้ำเมา
  4. เกียจคร้าน

๑๖. การรักษาศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร ช่วยลดปัญหาสังคมด้านใด ?

  1. เศรษฐกิจ
  2. คนว่างงาน
  3. ละเมิดทางเพศ
  4. คอรัปชั่น

๑๗. การขายบริการทางเพศ มีความเสียหายอย่างไร ?

  1. เสียชื่อเสียง
  2. เสียนามสกุล
  3. พ่อแม่เสียใจ
  4. ถูกทุกข้อ

๑๘. การพูดโกหกเพื่อให้คนอื่นสบายใจ ผิดศีลเพราะเหตุใด ?

  1. เพราะเรื่องที่พูดไม่เป็นเรื่องจริง
  2. เพราะคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อน
  3. เพราะผู้ฟังเข้าใจว่าเป็นเรื่องจริง
  4. ถูกทุกข้อ

๑๙. การพูดยุแหย่ให้คนอื่นแตกกัน จัดเป็นวจีทุจริตใด ?

  1. พูดเท็จ
  2. พูดส่อเสียด
  3. พูดคำหยาบ
  4. พูดเพ้อเจ้อ

๒๐. การพูดในเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ จัดเป็นวจีทุจริตใด ?

  1. พูดเท็จ
  2. พูดส่อเสียด
  3. พูดคำหยาบ
  4. พูดเพ้อเจ้อ

๒๑. ในนิทานอีสป โคนันทวิสาลไม่ยอมลากเกวียน เพราะคำพูดใด ?

  1. คำเท็จ
  2. คำส่อเสียด
  3. คำหยาบ
  4. คำเพ้อเจ้อ

๒๒. การรักษาศีลข้อมุสาวาท ชื่อว่าประพฤติสุจริตใด ?

  1. กายสุจริต
  2. วจีสุจริต
  3. มโนสุจริต
  4. ถูกทุกข้อ

๒๓. ศีลข้อมุสาวาท ควรประพฤติคู่กับกัลยาณธรรมข้อใด ?

  1. เมตตา กรุณา
  2. สัมมาอาชีวะ
  3. สำรวมในกาม
  4. ความมีสัตย์

๒๔. การเว้นจากการดื่มน้ำเมา ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลด้านใด ?

  1. ขาดขันติ
  2. ขาดศรัทธา
  3. ขาดสติ
  4. ขาดเมตตา

๒๕. “งดเหล้าเข้าพรรษา” รณรงค์ให้ประชาชนรักษาศีลข้อใด ?

  1. ข้อที่ ๒
  2. ข้อที่ ๓
  3. ข้อที่ ๔
  4. ข้อที่ ๕

๒๖. ข้อใด ไม่ใช่การเว้นจากการดื่มน้ำเมา ?

  1. จน เครียด กินเหล้า
  2. เลิกเหล้า เลิกจน
  3. ไม่ขับรถขณะเมาสุรา
  4. ห้ามขายสุราแก่เด็ก

๒๗. โรคพิษสุราเรื้อรัง เกิดขึ้นเพราะไม่สำรวมระวังในอะไร ?

  1. ตา
  2. หู
  3. จมูก
  4. ลิ้น

๒๘. การละกิเลสได้อย่างเด็ดขาดของพระอริยเจ้า จัดเป็นวิรัติใด ?

  1. สัมปัตตวิรัติ
  2. สมาทานวิรัติ
  3. สมุจเฉทวิรัติ
  4. ถูกทุกข้อ

๒๙. แม้สบโอกาสจะฆ่าได้ แต่ก็ไม่ฆ่า มีสติยับยั้งได้ จัดเป็นวิรัติใด ?

  1. สัมปัตตวิรัติ
  2. สมาทานวิรัติ
  3. สมุจเฉทวิรัติ
  4. ถูกทุกข้อ

๓๐. ความตั้งใจในการไม่ฆ่าสัตว์ ของบุคคลผู้ถือศีล จัดเป็นวิรัติใด ?

  1. สัมปัตตวิรัติ
  2. สมาทานวิรัติ
  3. สมุจเฉทวิรัติ
  4. ถูกทุกข้อ

๓๑. ข้อใด หมายถึงกัลยาณธรรม ?

  1. ธรรมมีอุปการะมาก
  2. ธรรมที่คู่กับศีล ๕
  3. ธรรมทำบุคคลให้งาม
  4. ธรรมคุ้มครองโลก

๓๒. เมื่อเราได้รับความลำบาก ใครสามารถให้ความช่วยเหลือได้ ?

  1. คนใจแคบ
  2. คนใจจืด
  3. คนใจกว้าง
  4. คนใจดำ

๓๓. ในหลวงพระราชทานสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จัดเข้าในคุณธรรมข้อใด ?

  1. เมตตา
  2. กรุณา
  3. มุทิตา
  4. อุเบกขา

๓๔. พ่อค้าขายเสื้อ “เรารักในหลวง” เกินกว่าราคาที่กำหนดไว้ ชื่อว่าประพฤติไม่เป็นธรรมในอะไร ?

  1. วัตถุ
  2. บุคคล
  3. กิจการ
  4. ถูกทุกข้อ

๓๕. การดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” อนุโลมในกัลยาณธรรมข้อใด ?

  1. ความมีสัตย์
  2. ความสำรวมในกาม
  3. ความมีกรุณา
  4. การเลี้ยงชีวิตชอบ

๓๖. สามีประพฤติตนอย่างไร จึงชื่อว่าบำเพ็ญสทารสันโดษ ?

  1. สันโดษในการแสวงหา
  2. สันโดษในคู่ครอง
  3. สันโดษในการบริโภค
  4. สันโดษในการรับ

๓๗. การทำหน้าที่เป็นภรรยาที่ดีของสามี เรียกว่าอะไร ?

  1. ปติวัตร
  2. วิธีวัตร
  3. จริยาวัตร
  4. กิจวัตร

๓๘. คุณธรรมที่จะนำพาให้คู่ครองไม่แตกร้าว โดยตรงได้แก่ข้อใด ?

  1. ไม่ดื่มเหล้า
  2. ไม่เจ้าชู้
  3. ไม่ทำอดสู
  4. ไม่หูเบา

๓๙.ข้อใด ไม่จัดเข้าในความมีสัตย์ ๔ ประการ ?

  1. ความสวามิภักดิ์
  2. ความซื่อตรง
  3. ความสมานฉันท์
  4. ความกตัญญู

๔๐. คำว่า “ทรงพระเจริญ” ที่พสกนิกรชาวไทยร่วมใจกันเปล่งถวายในหลวงชื่อว่าประพฤติกัลยาณธรรมข้อใด ?

  1. ความสวามิภักดิ์
  2. ความกตัญญู
  3. ความเที่ยงธรรม
  4. ความซื่อตรง

๔๑. “ผู้น้อยไม่ซื่อสัตย์ ก็เสีย” ผู้พูดต้องการสอนเรื่องอะไร ?

  1. ความกตัญญู
  2. ความเสียสละ
  3. ความซื่อตรง
  4. ความรอบคอบ

๔๒. “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์” ผู้พูดประสงค์คุณธรรมใด ?

  1. สัจจะ
  2. ทมะ
  3. ขันติ
  4. จาคะ

๔๓. การประพฤติตามหลักความมีสติรอบคอบ ตรงกับข้อใด ?

  1. ไม่ขับรถขณะเมา
  2. ขับรถระวังคน
  3. ข้ามถนนระวังรถ
  4. ถูกทุกข้อ

๔๔. การทำงานลักษณะใด ชื่อว่า ไม่เลินเล่อในการงาน ?

  1. ไม่ขวนขวาย
  2. ไม่ทอดธุระ
  3. ไม่รับผิดชอบ
  4. ไม่ตรงเวลา

๔๕. ในมหาเวสสันดรชาดก กล่าวว่า “ชูชกท้องแตกตาย” เพราะขาดความพอดีในเรื่องใด ?

  1. อายุสังขาร
  2. อาหาร
  3. ความตาย
  4. อารมณ์

๔๖. คนตระหนี่เลี้ยงชีวิตแบบอดๆ อยากๆ เปรียบได้กับข้อใด ?

  1. ต้นไม้ใส่ปุ๋ย
  2. ต้นไม้พรวนดิน
  3. ต้นไม้รดน้ำ
  4. ต้นไม้ขาดน้ำ

๔๗.กัลยาณธรรมใด เป็นเครื่องพิจารณาในการใช้สอยวัตถุสิ่งของที่ฟุ่มเฟือยทำให้ใจคนหลงลำพอง ?

  1. สติ
  2. สัจจะ
  3. ฉันทะ
  4. วิริยะ

๔๘. ความมีสติรอบคอบ เป็นอุปการะแก่ศีลข้อใด ?

  1. ปาณาติบาต
  2. อทินนาทาน
  3. มุสาวาท
  4. สุราเมรัย

๔๙. ความมีสติรอบคอบ ควบคุมอะไรมิให้ผิดพลาด ?

  1. การทำ
  2. การพูด
  3. การคิด
  4. ถูกทุกข้อ

๕๐. การรักษาศีล ๕ บำเพ็ญกัลยาณธรรม มีผลดีต่อสังคมด้านใด ?

  1. พัฒนาคุณธรรม
  2. พัฒนาจิตใจ
  3. พัฒนาเศรษฐกิจ
  4. พัฒนาทุกด้าน