ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ  ธรรมศึกษาชั้นเอก พ.ศ. ๒๕๔๙

๑.การศึกษาพุทธานุพุทธประวัติ ได้ความรู้ทางใดบ้าง ?

ก. ประวัติศาสตร์
ข. พุทธจริยา
ค. ศาสนธรรม
ง. ถูกทุกข้อ

๒. ประชาชนส่วนใหญ่ก่อนพุทธกาล นับถือศาสนาใด ?

ก. ศาสนาพราหมณ์
ข. ศาสนาพุทธ
ค. ศาสนาซิก
ง. ศาสนาอิสลาม

๓. ข้อใด เป็นผลเสียของการแบ่งชั้นวรรณะ ?

ก. ความแตกแยก
ข. เกิดช่องว่างในสังคม
ค. ขาดเอกภาพ
ง. ถูกทุกข้อ

๔. การปกครองโดยสามัคคีธรรม ตรงกับข้อใด ?

ก. ประชาธิปไตย
ข. จักรพรรดิราช
ค. เผด็จการ
ง. สังคมนิยม

๕. ข้อใด เป็นผลเสียของพวกมีความเห็นว่าตายแล้วสูญ ?

ก. ไม่กลัวบาปกรรม
ข. เอาตัวรอดในปัจจุบัน
ค. ไม่กลัวเกิดในทุคติ
ง. ถูกทุกข้อ

๖. กษัตริย์พระองค์ใด เป็นต้นศากยวงศ์ ?

ก. พระเจ้าชยเสนะ
ข. พระเจ้าอัญชนะ
ค. พระเจ้าสีหหนุ
ง. พระเจ้าโอกกากราช

๗. พระเจ้าชัยเสนะ เป็นพระบิดาของใคร ?

ก. พระเจ้าสีหหนุ
ข. พระเจ้าอัญชนะ
ค. พระเจ้าสุทโธทนะ
ง. พระเจ้าสุปปพุทธะ

๘. อะไรเป็นเหตุให้พระมหาบุรุษเกิดสังเวช แล้วเสด็จออกบรรพชา ?

ก. พระราหุลประสูติ
ข. ความแก่ เจ็บ ตาย
ค. เบื่อหน่ายในชีวิต
ง. การเมือง

๙. พระมหาบุรุษได้อุปมา ๓ ข้อ ณ ที่ไหน ?

ก. เมืองกบิลพัสดุ์
ข. ฝั่งแม่น้ำคงคา
ค. ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ง. ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

๑๐. ผู้ครองเรือนและมีความพอใจในกาม เปรียบได้กับข้อใด ?

ก. ไม้สดแช่ในน้ำ
ข. ไม้สดบนบก
ค. ไม้แห้งบนบก
ง. ไม้แห้งแช่น้ำ

๑๑. บุคคลใด ปฏิบัติธรรม แต่ไม่อาจจะบรรลุมรรคผลได้ ?

ก. คนครองเรือน
ข. คนไม่มีกัลยาณมิตร
ค. คนไม่มีกำลัง
ง. คนไม่ได้พบพระพุทธเจ้า

๑๒. มารที่พระมหาบุรุษทรงเอาชนะได้ในคราวตรัสรู้ ได้แก่อะไร ?

ก. กิเลส
ข. มารจริง ๆ
ค. เจ้าลัทธิอื่น
ง. เทวดามิจฉาทิฏฐิ

๑๓. ในปฐมยาม พระพุทธเจ้าทรงบรรลุธรรมอะไร ?

ก. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ข. จุตูปปาตญาณ
ค. อาสวักขยญาณ
ง. ทศพลญาณ

๑๔. หลังจากตรัสรู้ พระองค์ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทที่ไหน ?

ก. ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์
ข. ร่มไม้ราชายตนะ
ค. ร่มไม้มุจลินท์
ง. ร่มไม้อชปาลนิโครธ

๑๕. ตปุสสะกับภัลลิกะ แสดงตนเป็นอุบาสกที่ไหน ?

ก. อชปาลนิโครธ
ข. มุจจลินท์
ค. ราชายตนพฤกษ์
ง. อัสสัตถพฤกษ์

๑๖. ผู้ที่สามารถเข้าใจได้ ต่อเมื่อผู้อื่นอธิบายความ ตรงกับข้อใด ?

ก. อุคฆฏิตัญญู
ข. วิปจิตัญญู
ค. เนยยะ
ง. ปทปรมะ

๑๗. ในปฐมเทศนา ทุกข์อะไรที่ทุกคนต้องประสบ ?

ก. เกิด แก่ ตาย
ข. ร้องไห้ เสียใจ
ค. ผิดหวัง รำพัน
ง. เครียด หงุดหงิด

๑๘. โดยรวบยอด ทุกข์มีอย่างเดียว คืออะไร ?

ก. ความตาย
ข. ความยึดมั่น
ค. ความทะยานยาก
ง. ความล้มเหลว

๑๙. เราจักดับทุกข์หนึ่งเดียวนั้นได้เด็ดขาด ด้วยวิธีใด ?

ก. ไตรสิกขา
ข. มรรคมีองค์ ๘
ค. เจริญวิปัสสนา
ง. ถูกทุกข้อ

๒๐. ใครออกบวช เพราะเชื่อมั่นในวิชาโหราศาสตร์ ?

ก. พระวังคีสะ
ข. พระโกณฑัญญะ
ค. พระมหากัสสปะ
ง. พระอัสสชิ

๒๑. คำว่า “รัตตัญญู” ในตำแหน่งเอตทัคคะ มีความหมายอย่างไร ?

ก. ผู้รู้กาลนาน
ข. ผู้มีอายุมาก
ค. ผู้รู้ธรรมมาก
ง. ผู้รู้ธรรมก่อนผู้อื่น

๒๒. คำว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” เกิดขึ้นแก่ใครเป็นครั้งแรก ?

ก. พระวัปปะ
ข. พระภัททิยะ
ค. พระโกณฑัญญะ
ง. พระอัสสชิ

๒๓. พระยสะบรรลุอรหัตผล เพราะฟังธรรมเทศนาอะไร ?

ก. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ข. อนุปุพพีกถา อริยสัจ
ค. อาทิตตปริยายสูตร
ง. อนัตตลักขณสูตร

๒๔. หลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาแรกที่ใด ?

ก. ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ข. ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
ค. เวฬุวันเมืองราชคฤห์
ง. ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์

๒๕. พระอริยสาวกรูปที่ ๖ มีชื่อว่าอะไร ?

ก. พระควัมปติ
ข. พระอุรุเวลกัสสปะ
ค. พระสารีบุตร
ง. พระยสะ

๒๖. จุดประสงค์หลักที่พระพุทธองค์ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาคืออะไร ?

ก. เพื่อเผยแผ่พระศาสนา
ข. เพื่อทำให้โลกร่มเย็น
ค. เพื่อให้มหาชนหมดกิเลส
ง. เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน

๒๗. อุปติสสะและโกลิตะไปดูมหรสพ คิดอย่างไรจึงออกบวช ?

ก. คนพวกนี้ไม่ถึงร้อยปีก็ตาย
ข. คนพวกนี้หลอกลวงพวกเรา
ค. คนพวกนี้หลงละเลิงในกิเลส
ง. สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงมายา

๒๘. มิตรมีอุปการะต่อมิตร ปรากฏชัดในประวัติของใคร ?

ก. พระอุรุเวลกัสสปะ
ข. พระมหากัสสปะ
ค. พระโมคคัลลานะ
ง. พระสารีบุตร

๒๙. พระสาวกรูปใด เปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงดูทารก ?

ก. พระสารีบุตร
ข. พระโมคคัลลานะ
ค. พระอัสสชิ
ง. พระอนุรุทธะ

๓๐. พระสาวกรูปใด ที่พระพุทธองค์ทรงแลกผ้าสังฆาฏิด้วย ?

ก. พระสารีบุตร
ข. พระมหากัสสปะ
ค. พระมหากัจจายนะ
ง. พระโมคคัลลานะ

๓๑. มหาสันนิบาตแห่งพระอริยสาวก เป็นเหตุให้เกิดอะไร ?

ก. ธัมจักกัปปวัตตนสูตร
ข. อนัตตลักขณสูตร
ค. อาทิตตปริยายสูตร
ง. โอวาทปาฏิโมกข์

๓๒. “ความสงสัยเกิดขึ้นเมื่อใด ขอข้าพระองค์ทูลถามได้เมื่อนั้น” เป็นคำพูดของใคร ?

ก. พระภัททิยะ
ข. พระมหานามะ
ค. พระอานนท์
ง. พระอนุรุทธะ

๓๓. ใครอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา เป็นรูปแรก ?

ก. พระรัฐบาล
ข. พระอานนท์
ค. พระราธะ
ง. พระสุภัททะ

๓๔. ใครทูลเชิญพระศาสดาเสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ได้สำเร็จ ?

ก. พระอานนท์
ข. พระอุบาลี
ค. พระฉันนะ
ง. พระกาฬุทายี

๓๕.พระสาวกรูปใด ได้รับเอตทัคคะทำตระกูลให้เลื่อมใส ?

ก. พระกาฬุทายี
ข. พระโสภิตะ
ค. พระพากุละ
ง. พระรัฐบาล

๓๖. พระศาสดา แสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะครั้งแรกที่ไหน ?

ก. บุพพาราม
ข. เวฬุวนาราม
ค. นิโครธาราม
ง. อัมพวนาราม

๓๗. พระเทวทัตไม่ได้บรรลุมรรคผล เพราะอะไร ?

ก. มีมานะว่าเป็นกษัตริย์
ข. ไม่ได้บวชด้วยศรัทธา
ค. มีปัญญาด้อยกว่าผู้อื่น
ง. ลาภสักการะครอบงำ

๓๘. ใครสอนวิธีการทำนาแก่อนุรุทธศากยะ ?

ก. พระเจ้ามหานามะ
ข. พระเจ้าอมิโตทนะ
ค. พระเจ้าภัททิยะ
ง. พระเจ้าสุกโกทนะ

๓๙. เพราะเหตุไร นายภูษามาลาชื่ออุบาลีจึงได้บวชก่อนเจ้าชายทั้ง ๖ ?

ก. อุบาลีมีอายุมากกว่า
ข. ต้องการละมานะ
ค. เคยมีอุปการต่อกัน
ง. เป็นพุทธประสงค์

๔๐. พระสาวกรูปใด เดินจงกรมจนเท้าแตก ?

ก. พระรัฐบาล
ข. พระโสณกุฏิกัณณะ
ค. พระโสณโกฬิวิสะ
ง. พระภัททิยะ

๔๑. พระนางปชาบดี แสดงความตั้งใจจะบวชด้วยวิธีใด ?

ก. ตัดพระเมาลี
ข. อดพระกระยาหาร
ค. นั่งประท้วง
ง. กลั้นลมหายใจ

๔๒. พระนางปชาบดี บวชเป็นภิกษุณีด้วยวิธีใด ?

ก. เอหิภิกขุอุปสัมปทา
ข. ติสรณคมนูปสัมปทา
ค. รับครุธรรม ๘
ง. ญัตติจตุตถกรรม

๔๓. พระสาวกรูปใด ทูลขอให้มีการบวชภิกษุณีเป็นครั้งแรก ?

ก. พระสารีบุตร
ข. พระมหากัสสปะ
ค. พระโกณฑัญญะ
ง. พระอานนท์

๔๔. พระพุทธองค์ทรงแสดงมหาปเทส ๔ ที่ไหน ?

ก. โภคนคร
ข. อานันทเจดีย์
ค. กูฏาคารศาลา
ง. ภัณฑุคาม

๔๕. บุคคลต่อไปนี้ ใครเป็นผู้ถวายผ้าสิงคิวรรณ ?

ก. ตปุสสะ
ข. ปุกกุสะ
ค. ภัลลิกะ
ง. จุนทะ

๔๖. เพราะเหตุใด พระอานนท์จึงไม่ได้ทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าดำรงอยู่อีกกัปหนึ่งหรือเกินกว่านั้น ?

ก. ถูกมารดลใจ
ข. กำลังใจ
ค. ยังไม่บรรลุพระอรหัต
ง. เกิดปริวิตก

๔๗. พระศาสดาเสด็จปรินิพพานที่เมืองไหน ?

ก. เมืองราชคฤห์
ข. เมืองกุสินารา
ค. เมืองสาวัตถี
ง. เมืองพาราณสี

๔๘. ต้นพระศรีมหาโพธิ์ จัดเป็นเจดีย์ประเภทใด ?

ก. ธาตุเจดีย์
ข. บริโภคเจดีย์
ค. ธรรรมเจดีย์
ง. อุทเทสิกเจดีย์

๔๙. สถานที่ใด เป็นที่ทำสังคายนาครั้งแรก ?

ก. ถ้ำสัตตบรรณ
ข. ถ้ำปิปผลิ
ค. ถ้ำสุกรขาตา
ง. ถ้ำอิสิคิลิ

๕๐. พระเถระใด นำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ยังสุวรรณภูมิ ?

ก. พระโสณะ-พระอุตตระ
ข. พระธัมมรักขิตะ-พระมหินทะ
ค. พระรักขิตะ-พระมหาเทวะ
ง. พระมัชฌันติกะ-พระมัชฌิมะ