ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  ธรรมศึกษาชั้นเอก พ.ศ. ๒๕๔๙

๑. คำว่า “โลก” ในบาลีว่า “เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ” หมายถึงข้อใด ?

  1. แผ่นดินและหมู่สัตว์
  2. แผ่นดินและจักรวาล
  3. แผ่นดิน น้ำ อากาศ
  4. หมู่มนุษย์และสัตว์

๒. พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ดูโลกอย่างไร ?

  1. ดูประโยชน์มิใช่ประโยชน์
  2. ดูคุณและโทษ
  3. ดูตามเป็นจริง
  4. ดูว่าไม่มีแก่นสาร

๓. ข้อใด เป็นพุทธประสงค์ให้มาดูโลก ?

  1. เพื่อไม่ให้มัวเมาติดอยู่
  2. เพื่ออยู่อย่างปลอดภัย
  3. เพื่อความไม่ประมาท
  4. เพื่อหาทางออกจากโลก

๔. ทำอย่างไร จึงจะไม่ถูกเรียกว่า “พวกคนเขลา” ?

  1. ต้องรู้ทันโลก
  2. ต้องรู้โลกตามเป็นจริง
  3. ต้องรู้โลกธรรม
  4. ต้องรู้คดีโลกคดีธรรม

๕. ทำอย่างไร ถึงจะไม่ข้องอยู่ในโลก ?

  1. ไม่ติดในสิ่งล่อใจ
  2. ไม่ยุ่งกับใคร
  3. ปรารถนาไม่เกิดอีก
  4. ออกบวช

๖. ข้อใด มิใช่อาการสำรวมจิตตามหลักของนิพพิทา ?

  1. สำรวมอินทรีย์ ๖
  2. พิจารณาปัจจัย ๔
  3. มนสิการกัมมัฏฐาน
  4. เจริญวิปัสสนา

๗. โดยตรง ท่านจัดอะไรเป็นมาร ?

  1. กิเลสกาม
  2. วัตถุกาม
  3. กามกิเลส
  4. กามตัณหา

๘. เพราะเหตุไร จึงจัดว่าเป็นมาร ?

  1. เพราะทำให้ติดใจ
  2. เพราะทำให้หลง
  3. เพราะล้างผลาญความดี
  4. เพราะทำให้เป็นอันธพาล

๙. กำจัดมารนั้นได้ ด้วยวิธีอย่างไร ?

  1. สำรวมกาย วาจา ใจ
  2. สำรวมจิต
  3. ปิดปาก ปิดหู ปิดตา
  4. ไม่รับรู้อารมณ์

๑๐. การทำใจให้สงบเป็นสมาธิ จัดเป็นวิสุทธิใด ในวิสุทธิ ๗ ?

  1. สีลวิสุทธิ
  2. จิตตวิสุทธิ
  3. ทิฏฐิวิสุทธิ
  4. ญาณทัสสนวิสุทธิ

๑๑. สังขารในปฏิปทาแห่งนิพพิทานั้น โดยตรงได้แก่อะไร ?

  1. สังขารทั้งหมด
  2. สังขารในขันธ์ ๕
  3. ปัญจขันธ์
  4. รูปขันธ์

๑๒. นิพพิทานั้นเกิดขึ้นด้วยอะไร จึงเป็นนิพพิทาญาณ ?

  1. เกิดด้วยปัญญา
  2. เกิดด้วยฌาน
  3. เกิดด้วยวิสุทธิ
  4. เกิดด้วยสมาธิ

๑๓. ข้อใด เป็นสมมติสัจจะ ?

  1. สังขารไม่เที่ยง
  2. สังขารเป็นทุกข์
  3. ธรรมเป็นอนัตตา
  4. มารดาบิดา

๑๔. สังขารที่ผันแปรไปในระหว่าง เรียกว่าอะไร ?

  1. อนิจจลักษณะ
  2. ทุกขลักษณะ
  3. อนัตตลักษณะ
  4. ถูกทุกข้อ

๑๕. ข้อใด เป็นความหมายของทุกข์ ?

  1. สภาพที่เบียดเบียนสัตว์
  2. สภาพอันปัจจัยปรุงแต่ง
  3. สภาพไม่มีความยั่งยืน
  4. ถูกทุกข้อ

๑๖. ความหนาว ร้อน หิว กระหาย จัดเป็นทุกข์ข้อใด ?

  1. สภาวทุกข์
  2. นิพัทธทุกข์
  3. วิปากทุกข์
  4. พยาธิทุกข์

๑๗. อวัยวะไม่ทำหน้าที่ตามปกติจนเกิดความทุกข์ เป็นทุกข์ข้อใด ?

  1. สภาวทุกข์
  2. นิพัทธทุกข์
  3. วิปากทุกข์
  4. พยาธิทุกข์

๑๘. “พูดโดยไม่คิด พ่นพิษใส่คนอื่น” จัดเป็นทุกข์ข้อใด ?

  1. สหคตทุกข์
  2. วิวาทมูลกทุกข์
  3. พยาธิทุกข์
  4. นิพัทธทุกข์

๑๙. วิปากทุกข์ หมายถึงทุกข์ข้อใด ?

  1. ทุกข์เพราะเสวยผลกรรม
  2. ทุกข์เพราะวิวาทกัน
  3. ทุกข์เพราะเศรษฐกิจ
  4. ทุกข์เพราะเจ็บป่วย

๒๐. สันตาปทุกข์ ทุกข์เพราะใจร้อนรน เกิดจากอะไร ?

  1. อารมณ์เครียด
  2. ความผิดหวัง
  3. ราคะเป็นต้นแผดเผา
  4. วิตกจริตแผดเผา

๒๑. ข้อใด เป็นสภาวทุกข์ ?

  1. เกิด แก่ ตาย
  2. ร้อน หิว กระหาย
  3. โรค ภัย ไข้เจ็บ
  4. ยากจน อดอยาก

๒๒. ทุกข์ทั้งหมดรวมเรียกว่า ทุกขขันธ์ เกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด ?

  1. ขาดสติ
  2. ขาดปัญญา
  3. ความยึดมั่น
  4. ความเห็นแก่ตัว

๒๓. ข้อใด ช่วยบรรเทาความเศร้าโศกเสียใจได้ ?

  1. ตั้งสติปล่อยวาง
  2. ร้องไห้ดัง ๆ
  3. ไปเที่ยวพักผ่อน
  4. ฟังพระเทศน์

๒๔. พึงปฏิบัติต่อสังขารอย่างไร ?

  1. มีสติทุกเมื่อ
  2. พิจารณาทุกเมื่อ
  3. ศึกษาให้รู้จริง
  4. ศึกษาตัวเอง

๒๕. เห็นสังขารเป็นทุกข์แล้วเกิดอะไรขึ้น จึงเรียกนิพพิทา ?

  1. เบื่อหน่าย
  2. คลายกำหนัด
  3. ปล่อยวาง
  4. ปลงตก

๒๖. เห็นว่า “นั่นมิใช่เรา นั่นมิใช่ของเรา” จัดเป็นอนัตตาในข้อใด ?

  1. ไม่อยู่ในอำนาจ
  2. แย้งต่ออัตตา
  3. หาเจ้าของมิได้
  4. เป็นสภาพสูญ

๒๗. เพราะถูกอะไรปิดบังไว้ จึงไม่เห็นสังขารเป็นอนัตตา ?

  1. อิริยาบถ
  2. สันตติ
  3. อนิจจสัญญา
  4. ฆนสัญญา

๒๘. เมื่อเกิดนิพพิทา ย่อมเป็นเหตุให้เกิดอะไรตามมา ?

  1. ความหลุดพ้น
  2. ความสิ้นกำหนัด
  3. ความไม่ประมาท
  4. ความบริสุทธิ์

๒๙. อิริยาบถใด เหมาะแก่ผู้เริ่มเจริญกัมมัฏฐาน ?

  1. ยืน เดิน
  2. ยืน นอน
  3. นั่ง เดิน
  4. นั่ง นอน

๓๐. ผู้ฝึกจิตจนช่ำชองแล้ว ควรใช้อิริยาบถใด ?

  1. ยืน
  2. เดิน
  3. นั่ง
  4. ทุกอิริยาบถ

๓๑. อะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเจริญกัมมัฏฐานไม่ได้ผล ?

  1. ไม่ตั้งใจจริง
  2. ปฏิบัติไม่ถูกวิธี
  3. มีปลิโพธมาก
  4. กัมมัฏฐานไม่ถูกจริต

๓๒. สถานที่ใด เหมาะแก่ผู้เริ่มเจริญกัมมัฏฐาน ?

  1. ป่าไม้
  2. ป่าช้า
  3. โคนไม้อันสงัด
  4. ถูกทุกข้อ

๓๓. ข้อใด มิใช่ความหมายของคำว่า “พุทฺโธ” ?

  1. ผู้รู้
  2. ผู้ตื่น
  3. ผู้เบิกบาน
  4. ผู้มีโชค

๓๔. คนที่เห็นว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ตรงกับข้อใด ?

  1. สัมมาสติ
  2. สัมมาทิฏฐิ
  3. สัมมาสมาธิ
  4. สัมมาสังกัปปะ

๓๕. ข้อใด จัดเข้าในจิตตวิสุทธิ ?

  1. สัมมาวาจา
  2. สัมมากัมมันตะ
  3. สัมมาอาชีวะ
  4. สัมมาสติ

๓๖. ข้อใด เป็นอุบายดับกามฉันทนิวรณ์ ?

  1. พิจารณาว่าไม่เที่ยง
  2. พิจารณาว่าไม่งาม
  3. พิจารณาสักว่าเป็นธาตุ
  4. ถูกทุกข้อ

๓๗. คนชอบง่วงนอน ควรเจริญกัมมัฏฐานอะไร ?

  1. พรหมวิหาร
  2. กสิณ
  3. มูลกัมมัฏฐาน
  4. พุทธานุสสติ

๓๘. ข้อใด ตรงกับคำว่า “จริต” ความประพฤติเป็นไปของสัตว์โลก ?

  1. อุปนิสัย
  2. นิสัย
  3. จิต
  4. อารมณ์

๓๙. คนสัทธาจริต มีลักษณะเช่นไร ?

  1. เชื่อง่าย
  2. เชื่อเหตุผล
  3. เชื่อมั่นตัวเอง
  4. เชื่ออาจารย์

๔๐. กัมมัฏฐานข้อใด เหมาะแก่คนสัทธาจริต ?

  1. พุทธานุสสติ
  2. กายคตาสติ
  3. มรณสติ
  4. อุปสมานุสสติ

๔๑. คนโทสจริต มักมีลักษณะเช่นไร ?

  1. เครียดง่าย
  2. หงุดหงิดง่าย
  3. ฟุ้งซ่านง่าย
  4. ใจน้อยง่าย

๔๒. กัมมัฏฐานข้อใด เหมาะแก่คนโทสจริต ?

  1. อสุภะ
  2. อนุสสติ
  3. กสิณ
  4. พรหมวิหาร

๔๓. คนวิตกจริต มีลักษณะเช่นไร ?

  1. คิดฟุ้งซ่าน
  2. กังวลไปทุกเรื่อง
  3. นอนไม่ค่อยหลับ
  4. ถูกทุกข้อ

๔๔. กัมมัฏฐานข้อใด เหมาะแก่คนวิตกจริต ?

  1. อานาปานสติ
  2. มรณสติ
  3. อสุภะ
  4. พรหมวิหาร

๔๕. ผู้เจริญมรณสติต้องประกอบด้วยองค์อะไรบ้าง จึงจะแยบคาย ?

  1. ระลึกถึงความตาย
  2. รู้ว่าต้องตายแน่
  3. เกิดสังเวชสลดใจ
  4. ถูกทุกข้อ

๔๖. เจริญมรณสติอย่างไร ชื่อว่าไม่แยบคาย ?

  1. ไม่กลัวตาย
  2. เกิดความสังเวช
  3. สะดุ้งหวาดผวา
  4. กล้าเผชิญความตาย

๔๗. พิจารณา เกสา โลมา… อย่างไร จึงจัดเป็นวิปัสสนา ?

  1. ปฏิกูลน่าเกลียด
  2. ไม่งามน่ารังเกียจ
  3. เต็มไปด้วยซากศพ
  4. ไม่จิรังต้องแตกสลาย

๔๘. เหตุใด ท่านจึงสอนให้เจริญเมตตาในตนก่อน ?

  1. เพื่อให้ตนเป็นพยาน
  2. เพื่อให้รักตนมากๆ
  3. เพื่อให้ตนเป็นที่รัก
  4. เพื่อให้หมดโทสะ

๔๙. สติกำหนดพิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า “ใจนี้สักว่าใจ …” จัดเข้าในสติปัฏฐานข้อใด ?

  1. กายานุปัสสนา
  2. เวทนานุปัสสนา
  3. จิตตานุปัสสนา
  4. ธัมมานุปัสสนา

๕๐. พิจารณาธาตุ ๔ อย่างไร จึงจัดเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ?

  1. พิจารณาสักว่าเป็นธาตุ
  2. พิจารณาว่าว่างเปล่า
  3. พิจารณาว่าไม่เที่ยง
  4. ถูกทุกข้อ