ปัญหาและเฉลยวิชาเบญจศีลเบญจธรรม (วินัย)  ธรรมศึกษาชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๕๖

พื้นฐานของศีลคืออะไร ?

  1. สติ-สัมปชัญญะ
  2. หิริ-โอตตัปปะ
  3. ขันติ-โสรัจจะ
  4. เจตนา

เครื่องป้องกันไม่ให้ทำชั่วทางกาย วาจา เรียกว่าอะไร ?

  1. ทาน
  2. ศีล
  3. สมาธิ
  4. ปัญญา

วัตถุประสงค์ของการบัญญัติศีล คืออะไร ?

  1. ทำใจให้สงบ
  2. ละกิเลส
  3. ฝึกกายวาจา
  4. ดับทุกข์

บุคคลควรมีสิ่งใด เป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ?

  1. ทาน
  2. ศีล
  3. สมาธิ
  4. ภาวนา

หลักปฏิบัติเบื้องต้นแห่งการทำความดี ได้แก่ข้อใด ?

  1. รักษาศีล
  2. เจริญสมาธิ
  3. อบรมปัญญา
  4. เจริญภาวนา

การงดเว้นสิ่งใด จัดเป็นการรักษาศีล ?

  1. ข้อห้าม
  2. กฎเกณฑ์
  3. ระเบียบ
  4. ข้อบังคับ

ศีลข้อ ๑ บัญญัติขึ้นเพื่อส่งเสริมบุคคลให้มีคุณธรรมใด ?

  1. เมตตา-กรุณา
  2. สัมมาอาชีวะ
  3. สัจจะ
  4. สติ

ข้อใด เป็นการประพฤติผิดศีลข้อที่ ๑ ?

  1. ทำแท้ง
  2. ลักทรัพย์
  3. เสพยาบ้า
  4. พูดโกหก

คำว่า ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป หมายถึงทำให้เป็นอย่างไร ?

  1. บาดเจ็บ
  2. พิการ
  3. ลำบาก
  4. ตาย

รับฝากสิ่งของแล้วไม่ยอมคืน เป็นโจรกรรมประเภทใด ?

  1. ลักลอบ
  2. เบียดบัง
  3. ยักยอก
  4. ฉ้อโกง

การสลับของดีไว้กับตน ให้ของไม่ดีแก่คนอื่น เรียกว่าอะไร ?

  1. กรรโชก
  2. สับเปลี่ยน
  3. เบียดบัง
  4. ตระบัด

การขายสิ่งของไม่แท้ว่าเป็นของแท้ เป็นโจรกรรมประเภทใด ?

  1. ปลอม
  2. ลวง
  3. หลอก
  4. ตู่

คดในข้อ งอในกระดูก มีความหมายตรงกับศีลข้อใด ?

  1. ข้อ ๑
  2. ข้อ ๒
  3. ข้อ ๓
  4. ข้อ ๔

การประพฤติผิดประเวณี ถือว่าล่วงละเมิดศีลข้อใด ?

  1. ข้อ ๑
  2. ข้อ ๒
  3. ข้อ ๓
  4. ข้อ ๔

สทารสันโดษ เป็นคุณธรรมประดับใคร ?

  1. สามี
  2. ภรรยา
  3. ย่า
  4. ยาย

ภรรยาที่ซื่อสัตย์ต่อสามี เรียกว่ามีคุณธรรมใด ?

  1. สทารสันโดษ
  2. ปติวัตร
  3. คิหิปฏิบัติ
  4. วัตรปฏิบัติ

มุสาวาท เกิดขึ้นได้ทางใดบ้าง ?

  1. กายกับวาจา
  2. กายกับใจ
  3. วาจากับใจ
  4. กายวาจาใจ

รู้แต่สั่นศีรษะว่าไม่รู้ เป็นความเท็จเกิดขึ้นทางใด ?

  1. กาย
  2. วาจา
  3. ใจ
  4. ถูกทุกข้อ

คำพูดเช่นใด ทำให้แตกความสามัคคี ?

  1. ส่อเสียด
  2. หลอก
  3. สับปลับ
  4. กลับคำ

มุสาวาทประเภทเสริมความ ตรงกับข้อใด ?

  1. พูดให้แตกกัน
  2. พูดกลับคำ
  3. พูดเกินจริง
  4. พูดเล่นสำนวน

ผู้มีปกติไม่พูดมุสา ย่อมได้รับผลเช่นใด ?

  1. น่าเชื่อถือ
  2. อายุยืน
  3. สุขภาพดี
  4. ไม่หลงลืม

ศีลข้อ ๕ สอนให้งดเว้นเรื่องใด ?

  1. ฆ่าสัตว์
  2. ลักทรัพย์
  3. พูดเท็จ
  4. ยาเสพติด

ข้อใด เป็นโทษเกิดจากการดื่มสุราเมรัย ?

  1. อายุสั้น
  2. ยากจน
  3. เสียสัตย์
  4. เสียสติ

กิริยางดเว้นจากข้อห้าม เรียกว่าอะไร ?

  1. วิรัติ
  2. สัมปัตตวิรัติ
  3. สมาทานวิรัติ
  4. สมุจเฉทวิรัติ

สมุจเฉทวิรัติ เกิดขึ้นแก่บุคคลใด ?

  1. สามัญชน
  2. ปุถุชน
  3. อริยบุคคล
  4. กัลยาณชน

การรับศีลจากพระสงฆ์ จัดเป็นวิรัติใด ?

  1. สมาทานวิรัติ
  2. สัมปัตตวิรัติ
  3. สมุจเฉทวิรัติ
  4. ถูกทุกข้อ

ศีลข้อไม่ลักทรัพย์ คู่กับกัลยาณธรรมใด ?

  1. ความสัตย์
  2. เมตตา
  3. อาชีพสุจริต
  4. สติรอบคอบ

การช่วยเหลือคนบาดเจ็บ จัดเป็นกัลยาณธรรมใด ?

  1. เมตตา
  2. กรุณา
  3. สัมมาชีพ
  4. สติรอบคอบ

ไม่ฆ่าสัตว์ แต่ปราศจากกรุณา ตรงกับข้อใด ?

  1. มีศีลธรรม
  2. มีศีลขาดธรรม
  3. ขาดศีลมีธรรม
  4. ไม่มีศีลธรรม

กัลยาณธรรมข้อ ๑ สนับสนุนการแก้ปัญหาสังคมด้านใด ?

  1. อาชญากรรม
  2. โจรกรรม
  3. ทุจริตคอรัปชั่น
  4. ยาเสพติด

โครงการพระราชดำริเรื่องใด สนับสนุนศีลข้อ ๒ ?

  1. ฝายแม้ว
  2. แก้มลิง
  3. แกล้งดิน
  4. เศรษฐกิจพอเพียง

การแสวงหาทรัพย์โดยสุจริต จัดเป็นกัลยาณธรรมใด ?

  1. สัมมาอาชีวะ
  2. ความมีสัตย์
  3. ความมีสติ
  4. ความมีเมตตา

ลูกจ้างตรงต่อเวลา ชื่อว่าประพฤติเป็นธรรมในข้อใด ?

  1. กิจการ
  2. บุคคล
  3. วัตถุ
  4. ถูกทุกข้อ

ผู้ลักลอบปลอมแปลงสินค้า ชื่อว่าประพฤติไม่เป็นธรรมในข้อใด ?

  1. กิจการ
  2. บุคคล
  3. วัตถุ
  4. อาชีพ

คุณธรรมที่ส่งเสริมศีลข้อ ๓ ให้มั่นคงยิ่งขึ้น ตรงกับข้อใด ?

  1. สติ
  2. ซื่อตรง
  3. ภักดี
  4. สำรวมในกาม

สามีภรรยาจะซื่อสัตย์ต่อกัน ต้องปฏิบัติตามกัลยาณธรรมข้อใด ?

  1. เมตตากรุณา
  2. อาชีพสุจริต
  3. สำรวมในกาม
  4. กตัญญู

ผู้ประพฤติตามกัลยาณธรรมข้อ ๓ ย่อมได้รับผลเช่นใด ?

  1. มีเมตตา
  2. ไว้วางใจกัน
  3. มีความกตัญญู
  4. มีความภักดี

กัลยาณธรรมข้อ ๓ เป็นหลักปฏิบัติระหว่างใคร ?

  1. ลูก-พ่อแม่
  2. ศิษย์-อาจารย์
  3. สามี-ภรรยา
  4. พี่-น้อง

การเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ จัดเข้าในความมีสัตย์ข้อใด ?

  1. สวามิภักดิ์
  2. ซื่อตรง
  3. เที่ยงธรรม
  4. กตัญญู

ความเที่ยงธรรมในกัลยาณธรรมข้อ ๔ ตรงกับข้อใด ?

  1. ตรงต่อหน้าที่
  2. ตรงต่อมิตร
  3. ภักดีต่อนาย
  4. รู้คุณท่าน

ความสวามิภักดิ์ในกัลยาณธรรมข้อ ๔ ตรงกับข้อใด ?

  1. ไม่ฆ่าน้อง
  2. ไม่ฟ้องนาย
  3. ไม่ขายเพื่อน
  4. ไม่ทรยศนาย

การประพฤติซื่อตรงต่อมิตร ตรงกับข้อใด ?

  1. แนะนำให้ทำดี
  2. ให้ความยุติธรรม
  3. ไม่ลบหลู่
  4. ไม่ให้ทำชั่ว

ความมีสติในการใช้จ่าย จัดเข้าในข้อใด ?

  1. การบริโภค
  2. การวางตัว
  3. การทำงาน
  4. ไม่ประมาทในธรรม

ความมีสติรอบคอบ สนับสนุนศีลข้อใด ?

  1. ข้อ ๑
  2. ข้อ ๒
  3. ข้อ ๔
  4. ข้อ ๕

การประพฤติเป็นธรรมในกิจการ หมายถึงข้อใด ?

  1. ทำงานเต็มเวลา
  2. บริการลูกค้า
  3. ขายตามราคา
  4. ขายถูก

ผู้ประมาทเลินเล่อในการทำงาน มีลักษณะเช่นใด ?

  1. ขวนขวาย
  2. ทอดธุระ
  3. รับผิดชอบ
  4. ตรงเวลา

กัลยาณธรรมข้อใด ส่งเสริมให้คนไม่ดื่มสุรา ?

  1. เมตตากรุณา
  2. สัมมาอาชีวะ
  3. สติรอบคอบ
  4. ความมีสัตย์

การบำเพ็ญสมถวิปัสสนา ชื่อว่ามีสติในเรื่องใด ?

  1. การบริโภค
  2. การวางตน
  3. การทำงาน
  4. การประพฤติธรรม

คำว่า สีเลน โภคสมฺปทา มีความหมายตรงกับข้อใด ?

  1. ศีลทำให้สวย
  2. ศีลทำให้รวย
  3. ศีลทำให้สูงส่ง
  4. ศีลทำให้สงบ

บุคคลจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ต้องประกอบด้วยอะไร ?

  1. ศีลธรรม
  2. ทรัพย์สมบัติ
  3. พวกพ้อง
  4. หน้าที่การงาน