ปัญหาและเฉลยวิชาเบญจศีลเบญจธรรม  ธรรมศึกษาชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๔๖

๑. ข้อใด ไม่ใช่ความหมายของศีล ?

  1. ความสำรวม
  2. ความสงบ
  3. เจตนางดเว้น
  4. ความไม่ล่วงละเมิด

๒. คำว่า เบญจศีล เป็นศีลสำหรับใคร ?

  1. พระภิกษุ
  2. สามเณร
  3. คนทั่วไป
  4. คนถืออุโบสถศีล

๓. เบญจศีล เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ?

  1. นิจศีล
  2. อนิจศีล
  3. อุโบสถศีล
  4. ถูกทุกข้อ

๔. มนุษยธรรม ตรงกับศีลในข้อใด ?

  1. ศีล ๕
  2. ศีล ๘
  3. ศีล ๑๐
  4. ศีล ๒๒๗

๕. คนเริ่มทำความดี ควรมีศีลเป็นหลัก เพราะเหตุใด ?

  1. เพราะควรรักษาศีลก่อนให้ทาน
  2. เพราะศีลเป็นเหตุให้เกิดโภคทรัพย์
  3. เพราะศีลนำความสุขมาให้ตราบเท่าชรา
  4. เพราะศีลเป็นบรรทัดให้คนประพฤติดี

๖. อะไรเป็นเครื่องสนับสนุนศีล ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ?

  1. วิรัติ
  2. สุจริต
  3. ทาน
  4. ภาวนา

๗. การกระทำในข้อใด เกี่ยวกับศีลข้อที่ ๑ ?

  1. การเก็บส่วย
  2. การฆ่าตัดตอน
  3. การเล่นหวย
  4. การฆ่ากิเลส

๘. อาการเช่นไร เรียกว่า ฆ่าให้ลำบาก ?

  1. ฆ่าคนที่หาความผิดมิได้
  2. ฆ่าคนที่มีบุญคุณต่อตนเอง
  3. ถูกบังคับให้ฆ่าคนจนกว่าจะตาย
  4. ทุบตีให้บอบช้ำจนกว่าจะตาย

๙. การฆ่าเช่นไร เรียกว่า ฆ่าโดยจงใจ ?

  1. ฆ่าเพราะบันดาลโทสะ
  2. วางแผนฆ่าเจ้าของทรัพย์
  3. ฆ่าเพราะจะป้องกันตัว
  4. วางแผนฆ่าแต่ยิงผิดตัว

๑๐. คำว่า ทรกรรม ในศีลข้อที่ ๑ สำหรับใช้กับใคร ?

  1. คนทั่วไป
  2. คนพิการ
  3. สัตว์ทั่วไป
  4. คนและสัตว์

๑๑. คนที่มีอายุสั้น เพราะวิบากกรรมในข้อใด ?

  1. มักโกรธ
  2. มักฆ่าสัตว์
  3. มักดื่มสุรา
  4. มักก่อวิวาท

๑๒. ความมีเมตตาจิต ปรารถนาดีต่อกัน เป็นหน้าที่ของใคร ?

  1. คนถือศีล ๕
  2. คนถือศีล ๘
  3. พระภิกษุสงฆ์
  4. คนทั่วไป

๑๓. คำว่า ทรัพย์ ในศีลข้อที่ ๒ หมายถึงทรัพย์ชนิดใด ?

  1. ทรัพย์ที่อยู่ในบ้าน
  2. ทรัพย์ที่อยู่ในป่า
  3. ทรัพย์ที่ทำตกหาย
  4. ถูกทุกข้อ

๑๔. พระองค์ทรงบัญญัติศีลข้อที่ ๒ เพื่อพระประสงค์ใด ?

  1. เพื่อไม่ให้เบียดเบียนกัน
  2. เพื่อให้เป็นคนซื่อสัตย์
  3. เพื่อป้องกันความแตกร้าว
  4. เพื่อให้เลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ

๑๕. คนชอบขโมยของตอนกลางคืน ควรแก้ด้วยคุณธรรมข้อใด ?

  1. มีอาชีพชอบ
  2. มีการงานชอบ
  3. มีความเห็นชอบ
  4. มีความพยายามชอบ

๑๖. การแปลงสินทรัพย์เป็นทุน หมายถึงทรัพย์ในข้อใด ?

  1. สังหาริมทรัพย์
  2. อสังหาริมทรัพย์
  3. อวิญญาณกทรัพย์
  4. ถูกทุกข้อ

๑๗. ข้อใด จัดเป็นโจรกรรมที่เรียกว่า ลักลอบ ?

  1. กู้เงินกองทุนหมู่บ้านแล้วหลบหนี
  2. แอบนำสินค้าเถื่อนเข้าประเทศ
  3. อ้างกรรมสิทธิ์ครอบครองที่ดิน
  4. ถูกทุกข้อ

๑๘. คนที่สังคมเรียกว่า ร่ำรวยผิดปกติ เพราะสาเหตุใด ?

  1. ค้ายาบ้า
  2. เก็บส่วยรายวัน
  3. เลี้ยงชีพในทางผิด
  4. ถูกทุกข้อ

๑๙. ตัวอย่างในข้อใด จัดเป็นโจรกรรมที่เรียกว่า ฉก ?

  1. วิ่งราวโทรศัพท์มือถือ
  2. เก็บส่วยวินมอเตอร์ไซค์
  3. ยักยอกเงินกองทุนหมู่บ้าน
  4. ทำปุ๋ยปลอมแจกให้ชาวนา

๒๐. ข้อใด ไม่เกี่ยวข้องกับศีลข้อ ๓ ?

  1. ความไว้วางใจกัน
  2. ความไม่แตกร้าว
  3. ความปรารถนาดีต่อกัน
  4. ความพอใจในคู่ครอง

๒๑. การหลอกลวงเรียกเก็บเงิน ในทางมิชอบ ตรงกับข้อใด ?

  1. โจรกรรม
  2. อนุโลมโจรกรรม
  3. ฉายาโจรกรรม
  4. ถูกทุกข้อ

๒๒. การไม่ประพฤติผิดในกาม จัดเป็นสุจริตใด ?

  1. กายสุจริต
  2. วจีสุจริต
  3. มโนสุจริต
  4. ถูกทุกข้อ

๒๓. กรณีคืนบาป พรหมพิราม สะท้อนให้เห็นถึงการละเมิดศีลข้อใด ?

  1. ศีลข้อ ๑
  2. ศีลข้อ ๒
  3. ศีลข้อ ๓
  4. ศีลข้อ ๕

๒๔. “ รักตัวเอง รักครอบครัว อย่ามีภรรยาน้อย ” คำขวัญนี้สนับสนุนให้ผู้ชายทุกคนรักษาศีลข้อใด ?

  1. ศีลข้อ ๒
  2. ศีลข้อ ๓
  3. ศีลข้อ ๔
  4. ศีลข้อ ๕

๒๕. ศีลข้อใด ทำให้ผู้รักษามีความซื่อตรง ?

  1. เว้นลักทรัพย์
  2. เว้นประพฤติผิดในกาม
  3. เว้นพูดเท็จ
  4. เว้นดื่มสุราเมรัย

๒๖. จงใจพูดให้ผู้อื่นเข้าใจผิด แต่เขาไม่ได้ยิน ผิดศีลข้อ ๔ หรือไม่ ?

  1. ผิด เพราะมีเจตนาพูดเท็จ
  2. ผิด เพราะพยายามพูดเท็จ
  3. ไม่ผิด เพราะเรื่องนั้นจริง
  4. ไม่ผิด เพราะไม่ครบองค์มุสาวาท

๒๗. พูดเท็จแก่ใคร มีโทษหนัก ?

  1. ปู่ ย่า
  2. พ่อ แม่
  3. ลุง ป้า
  4. น้า อา

๒๘. การแสดงความเท็จ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิด เกิดขึ้นทางใดบ้าง ?

  1. ทางวาจาอย่างเดียว
  2. ทางวาจา ทางใจ
  3. ทางกาย ทางวาจา
  4. ทางกาย วาจา ใจ

๒๙. การสั่นศีรษะปฏิเสธ ให้เขาเข้าใจผิด จัดเป็นมุสาวาท หรือไม่ ?

  1. ไม่เป็น เพราะไม่ได้เปล่งวาจา
  2. ไม่เป็น เพราะไม่ครบองค์มุสาวาท
  3. เป็น เพราะมุ่งเจตนาอย่างเดียว
  4. เป็น เพราะคนอื่นรู้เรื่องนั้น

๓๐. วาจาเช่นไร ทำให้คนแตกสามัคคี ?

  1. พูดเท็จ
  2. พูดส่อเสียด
  3. พูดคำหยาบ
  4. พูดเพ้อเจ้อ

๓๑. การห้ามโฆษณาเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ก่อน ๔ ทุ่ม เพื่อป้องกันการทำผิดศีลข้อใด ?

  1. ศีลข้อ ๒
  2. ศีลข้อ ๓
  3. ศีลข้อ ๔
  4. ศีลข้อ ๕

๓๒. ข้อใด เป็นลักษณะเด่นของคนที่ไม่ดื่มสุรา เมรัย ?

  1. มีสติรอบคอบ
  2. มีความซื่อสัตย์
  3. มีความขยัน
  4. มีสมาธิแน่วแน่

๓๓. การดื่มสุรา เป็นปฏิปักษ์ต่อคุณธรรมข้อใด ?

  1. ศรัทธา
  2. สติ
  3. ขันติ
  4. เมตตา

๓๔. แสนเสน่ห์ตั้งใจเลิกดื่มสุรา เมื่อเข้าพรรษา จัดเป็นวิรัติใด ?

  1. สัมปัตตวิรัติ
  2. สมาทานวิรัติ
  3. สมุจเฉทวิรัติ
  4. ถูกทุกข้อ

๓๕. วิรัติของพระอริยเจ้า ตรงกับข้อใด ?

  1. สัมปัตตวิรัติ
  2. สมาทานวิรัติ
  3. สมุจเฉทวิรัติ
  4. ถูกทุกข้อ

๓๖. สำนวนว่า “ ควายขวิดลูก ไม่ถูกปลายเขา ” ตรงกับข้อใด ?

  1. เมตตา กรุณา
  2. ขันติ โสรัจจะ
  3. กตัญญูกตเวที
  4. ความซื่อสัตย์

๓๗. หนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล สนับสนุนกัลยาณธรรมข้อใด ?

  1. สัมมาสติ
  2. สัมมาสมาธิ
  3. สัมมาอาชีวะ
  4. สัมมาวาจา

๓๘. สทารสันโดษ เป็นคุณสำหรับประดับชายประเภทใด ?

  1. อายุต่ำกว่า ๑๘
  2. แต่งงานแล้ว
  3. โสด
  4. สูงอายุ

๓๙. สามีภรรยาที่ครองคู่จนตลอดชีวิต ร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วยกัน ไม่นอกใจกัน เพราะตั้งตนอยู่ในกัลยาณธรรมข้อใด ?

  1. เมตตาสงสาร
  2. ความกตัญญู
  3. อาชีพสุจริต
  4. สำรวมในกาม

๔๐. สำนวนว่า “ อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับหมู่มิตรให้ระวังวาจา ” สอนให้มีสติรอบคอบในเรื่องใด ?

  1. อาหาร
  2. การงาน
  3. การประพฤติตัว
  4. ธรรม

๔๑. จะหลีกเลี่ยงการละเมิดศีลข้อที่ ๓ ได้ เพราะมีอะไรสนับสนุน ?

  1. ความซื่อตรง
  2. ความสำรวมในกาม
  3. ความมีสัตย์
  4. ความมีสติรอบคอบ

๔๒. ลูกจ้างทำงานด้วยความตั้งใจ ไม่หลบเลี่ยงจากการงาน ได้ชื่อว่า ประพฤติเป็นธรรมในอะไร ?

  1. นายจ้าง
  2. บริษัท
  3. เวลา
  4. หน้าที่

๔๓. พ่อค้าขายปุ๋ยปลอมไม่มีคุณภาพ ให้แก่ชาวนา ได้ชื่อว่า ประพฤติไม่เป็นธรรมในข้อใด ?

  1. ชาวนา
  2. วัตถุ
  3. กิจการ
  4. หน้าที่

๔๔. ข้อใด เป็นเหตุเสื่อมเสียจากการเที่ยวสถานอาบ อบ นวด ?

  1. เสียทรัพย์
  2. เกิดโรคติดต่อ
  3. เกิดการวิวาท
  4. ถูกทุกข้อ

๔๕. คนมีพฤติกรรม “ ปั้นน้ำเป็นตัว ” จะต้องแก้ด้วยการปฏิบัติตามกัลยาณธรรมข้อใด ?

  1. ความปรารถนาดีต่อกัน
  2. การเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ
  3. ความซื่อสัตย์ต่อกัน
  4. ความมีสติรอบคอบ

๔๖. สำนวนว่า “ กำแพงมีหู ประตูมีช่อง ” มุ่งเน้นสอนให้ปฏิบัติตามหลักกัลยาณธรรมอย่างไร ?

  1. รู้จักระวังการกระทำ
  2. รู้จักระวังคำพูด
  3. รู้จักระวังความคิด
  4. ถูกทุกข้อ

๔๗. “ มีเพื่อนดีเพียงหนึ่งถึงจะน้อย ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา ” ตรงกับความมีสัตย์ข้อใด ?

  1. ความเที่ยงธรรม
  2. ความซื่อตรง
  3. ความสวามิภักดิ์
  4. ความกตัญญู

๔๘. มรรคมีองค์ ๘ ข้อใด จัดเข้าในกัลยาณธรรม ?

  1. สัมมากัมมันตะ
  2. สัมมาสังกัปปะ
  3. สัมมาวายามะ
  4. สัมมาอาชีวะ

๔๙. ข้อใด กล่าวถูกต้องตามความหมาย ?

  1. ผู้มีศีล ๕ ได้ชื่อว่ามีกัลยาณธรรม
  2. เบญจศีล มีวิรัติเป็นเครื่องคู่กัน
  3. กัลยาณธรรม คือการละเว้นข้อห้าม
  4. วิรัติ คือเจตนางดเว้นจากความชั่ว

๕๐. ผู้ทรงศีลไม่ฆ่าสัตว์ แต่ปราศจากกรุณา ได้ชื่อว่าเป็นคนเช่นไร ?

  1. คนลวงโลก
  2. มีศีล แต่ขาดคุณธรรม
  3. คนไม่มีศีลธรรม
  4. ถูกทุกข้อ