ปัญหาและเฉลยวิชาอุโบสถศีล (วินัย)  ธรรมศึกษาชั้นโท พ.ศ. ๒๕๕๘

๑. คุณธรรมใด ใช้ควบคุมความประพฤติทางกายวาจา ?

  1. ทาน
  2. ศีล
  3. สมาธิ
  4. ปัญญา

๒. อุโบสถศีล หมายถึงศีลประเภทใด ?

  1. ศีล ๕
  2. ศีล ๘
  3. ศีล ๑๐
  4. ศีล ๒๒๗

๓. บุคคลที่อยู่ในวัยใด ควรรักษาอุโบสถศีล ?

  1. วัยเด็ก
  2. วัยทางาน
  3. วัยชรา
  4. ทุกวัย

๔. คาว่า ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ใครกล่าวครั้งแรก ?

  1. พระพุทธเจ้า
  2. พระสารีบุตร
  3. พระอานนท์
  4. พระอัสสชิ

๕. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมเรียกว่าอะไร ?

  1. ไตรรัตน์
  2. ไตรสิกขา
  3. ไตรลักษณ์
  4. ไตรภูมิ

๖. ผู้ประสงค์เข้าสู่พระพุทธศาสนา ต้องเข้าถึงทางใด ?

  1. สิกขา ๓
  2. รัตนะ ๓
  3. ทวาร ๓
  4. ภูมิ ๓

๗. คาว่า พุทธะ แปลว่าอะไร ?

  1. ผู้ไปดี
  2. ผู้รู้แจ้งโลก
  3. ผู้รู้
  4. ผู้แจกธรรม

๘. รัตนะใด รักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในอบาย ?

  1. พุทธรัตนะ
  2. ธรรมรัตนะ
  3. สังฆรัตนะ
  4. ถูกทุกข้อ

๙. พระสงฆ์ มีความเสมอกันด้วยคุณธรรมใด ?

  1. ศรัทธา ปัญญา
  2. ขันติ โสรัจจะ
  3. ทิฏฐิ ศีล
  4. หิริ โอตตัปปะ

๑๐. สรณะมีความหมายว่าทำลาย ได้แก่ทำลายสิ่งใด ?

  1. สุข
  2. ทุกข์
  3. ศัตรู
  4. โรค

๑๑. บุคคลผู้ถึงสรณคมน์ มีกี่ประเภท ?

  1. ๑ ประเภท
  2. ๒ ประเภท
  3. ๓ ประเภท
  4. ๔ ประเภท

๑๒. การขาดสรณคมน์ ย่อมมีในบุคคลประเภทใด ?

  1. ปุถุชน
  2. พระโสดาบัน
  3. พระสกทาคามี
  4. พระอนาคามี

๑๓. สรณคมน์ของบุคคลใด มั่นคงที่สุด ?

  1. ปุถุชน
  2. สามัญชน
  3. กัลยาณชน
  4. อริยชน

๑๔. พระเทวทัตขาดสรณคมน์เพราะเหตุใด ?

  1. ตาย
  2. ทาร้ายพระศาสดา
  3. ถือศาสดาอื่น
  4. ถูกทุกข้อ

๑๕. สรณคมน์เศร้าหมองเพราะไม่เชื่อเรื่องบุญบาปตรงกับข้อใด ?

  1. ไม่รู้
  2. รู้ผิด
  3. สงสัย
  4. ไม่เอื้อเฟื้อ

๑๖. ผู้เข้าจำอุโบสถศีล พึงงดเว้นเรื่องใด ?

  1. งานบ้าน
  2. สวดมนต์
  3. ฟังเทศน์
  4. นั่งสมาธิ

๑๗. จุดประสงค์การเข้าจำอุโบสถศีล เพื่อขัดเกลาอะไร ?

  1. วัฏฏะ
  2. กิเลส
  3. กรรม
  4. วิบาก

๑๘. ปฏิชาครอุโบสถ กำหนดให้รักษาคราวละกี่วัน ?

  1. ๑ วัน
  2. ๓ วัน
  3. ๓ เดือน
  4. ๔ เดือน

๑๙. วันจาตุททสี ในคำประกาศอุโบสถ หมายถึงวันกี่ค่ำ ?

  1. ๗ ค่ำ
  2. ๘ ค่ำ
  3. ๑๔ ค่ำ
  4. ๑๕ ค่ำ

๒๐. อุโบสถ แปลว่าอะไร ?

  1. การเข้าจำ
  2. การอดอาหาร
  3. การปฏิบัติธรรม
  4. การจาพรรษา

๒๑. ผู้เข้าจำอุโบสถศีล พึงปฏิบัติตนเช่นใด ?

  1. พูดมาก
  2. นอนมาก
  3. กินมาก
  4. นั่งสมาธิมาก

๒๒. คำสั่งใด เป็นการล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อที่ ๑ ?

  1. สั่งให้ฆ่า
  2. สั่งให้ลัก
  3. สั่งให้ปด
  4. สั่งให้รำ

๒๓. องค์ที่ทำให้อุโบสถศีลข้อที่ ๑ ขาดตรงกับข้อใด ?

  1. สัตว์ตาย
  2. ลักมาได้
  3. มีความยินดี
  4. ดื่มล่วงลำคอ

๒๔. อวิญญาณกทรัพย์ได้แก่ทรัพย์ประเภทใด ?

  1. ช้างพลาย
  2. ม้าลาย
  3. วัวกระทิง
  4. กบไสไม้

๒๕. อทินนาทานา เวรมณี หมายถึงเจตนางดเว้นในเรื่องใด ?

  1. การฆ่า
  2. การลัก
  3. การพูดเท็จ
  4. การดื่มสุรา

๒๖. องค์ที่ทำให้อุโบสถศีลข้อที่ ๒ ขาด ตรงกับข้อใด ?

  1. สัตว์ตาย
  2. ลักมาได้
  3. มีความยินดี
  4. ดื่มล่วงลำคอ

๒๗. การลักลอบตัดไม้ในป่าสงวน ชื่อว่าล่วงละเมิดอุโบสถศีลข้อใด ?

  1. ข้อที่ ๑
  2. ข้อที่ ๒
  3. ข้อที่ ๓
  4. ข้อที่ ๔

๒๘. การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของหวงแหน เป็นกิริยาของคนเช่นใด ?

  1. คนโหดร้าย
  2. คนหัวขโมย
  3. คนเจ้าชู้
  4. คนขี้เมา

๒๙. ผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๓ พึงงดเว้นเรื่องใด ?

  1. เสพเมถุน
  2. พูดเท็จ
  3. ดื่มสุรา
  4. ฟ้อนรำ

๓๐. อุโบสถศีลข้อที่ ๓ มุ่งขัดเกลาสิ่งใด ?

  1. ราคะ
  2. โลภะ
  3. โทสะ
  4. โมหะ

๓๑. ข้อใด จัดเป็นองค์ของอุโบสถศีลข้อที่ ๓ ?

  1. คิดจะฆ่า
  2. คิดจะลัก
  3. คิดจะเสพ
  4. คิดจะดื่ม

๓๒. อุโบสถศีลข้อว่า มุสาวาทา เวรมณี ให้เว้นจากคำพูดเช่นใด ?

  1. คำเท็จ
  2. คำสัตย์
  3. คำไพเราะ
  4. คำสุภาพ

๓๓. ผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๔ พึงสำรวมระวังเรื่องใด ?

  1. สิ่งที่ทำ
  2. คำที่พูด
  3. เรื่องที่คิด
  4. จิตกำหนัด

๓๔. ข้อใด เป็นองค์ของอุโบสถศีลข้อที่ ๔ ?

  1. สัตว์มีชีวิต
  2. จิตคิดจะลัก
  3. เรื่องไม่จริง
  4. สิ่งทำให้เมา

๓๕. ผู้รักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๕ พึงเว้นเครื่องดื่มประเภทใด ?

  1. โซดา
  2. กาแฟ
  3. น้ำชา
  4. เบียร์

๓๖. อุโบสถศีลข้อใด ทำให้ผู้รักษามีสติรอบคอบ ?

  1. ข้อที่ ๔
  2. ข้อที่ ๕
  3. ข้อที่ ๖
  4. ข้อที่ ๗

๓๗. วัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ได้แก่อะไร ?

  1. น้ำเมา
  2. น้ำข้าว
  3. น้ำผึ้ง
  4. น้ำอ้อย

๓๘. อุโบสถศีลข้อที่ ๕ ให้ประโยชน์แก่ผู้รักษาอย่างไร ?

  1. อายุยืน
  2. มีทรัพย์
  3. น่าเชื่อถือ
  4. สุขภาพดี

๓๙. สิ่งเป็นปฏิปักข์ต่ออุโบสถศีลข้อ ๕ คืออะไร ?

  1. น้ำหอม
  2. ดอกไม้
  3. สุราเมรัย
  4. ที่นอนสูง

๔๐. คำว่า วิกาล ในอุโบสถศีลข้อที่ ๖ หมายถึงเวลาใด ?

  1. เช้า
  2. สาย
  3. ก่อนเที่ยง
  4. บ่าย

๔๑. อุโบสถศีลข้อที่ ๖ บัญญัติไว้เพื่อให้ตัดความกังวลเรื่องใด ?

  1. การพูด
  2. การกิน
  3. การแต่งตัว
  4. การนอน

๔๒. ความพยายามใด เป็นองค์แห่งอุโบสถศีลข้อที่ ๖ ?

  1. ลัก
  2. พูด
  3. ดื่ม
  4. กลืน

๔๓. ผู้สมาทานรักษาอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ห้ามทำเรื่องใด ?

  1. อาบน้ำ
  2. แปรงฟัน
  3. ทายากันยุง
  4. ทาน้ำหอม

๔๔. คาว่า คีตะ ในอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ได้แก่กิริยาใด ?

  1. ร้องทุกข์
  2. ร้องเรียน
  3. ร้องเพลง
  4. ร้องไห้

๔๕. คำว่า มัณฑนะ ในอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ได้แก่กิริยาใด ?

  1. ฟ้อนรา
  2. ร้องเพลง
  3. ตีกลอง
  4. แต่งตัว

๔๖. คำว่า คันธะ ในอุโบสถศีลข้อที่ ๗ หมายถึงสิ่งใด ?

  1. ของหอม
  2. ของคาว
  3. ของหวาน
  4. ของเคี้ยว

๔๗. กิริยาใด ไม่เป็นข้อห้ามในอุโบสถศีลข้อที่ ๗ ?

  1. ฟ้อนรำ
  2. ขับร้อง
  3. ประโคม
  4. ฟังเทศน์

๔๘. อุโบสถศีลข้อที่ ๘ บัญญัติไว้เพื่อตัดความกังวลในเรื่องใด ?

  1. ที่นั่งนอน
  2. ที่ดื่มกิน
  3. ที่พักผ่อน
  4. ที่พักแรม

๔๙. ผู้เข้าจำอุโบสถศีล ควรสนทนากันในเรื่องใด ?

  1. ครอบครัว
  2. การงาน
  3. เศรษฐกิจ
  4. ศีลธรรม

๕๐. อานิสงส์ของศีลที่เป็นโลกิยสมบัติ ตรงกับข้อใด ?

  1. เป็นมนุษย์
  2. เป็นโสดาบัน
  3. เป็นสกทาคามี
  4. เป็นอนาคามี