ปัญหาและเฉลยวิชากรรมบถ (วินัย)  ธรรมศึกษาชั้นเอก พ.ศ. ๒๕๔๗

๑. คนเราจะมีความสุขหรือความทุกข์ขึ้นอยู่กับอะไร ?

  1. ดวงชะตา
  2. ปาฏิหาริย์
  3. การกระทำ
  4. เทพเจ้า

๒. การตัดสินคนว่าดีหรือเลว พิจารณาจากสิ่งใด ?

  1. การกระทำ
  2. อารมณ์
  3. ความคิด
  4. คำพูด

๓. กรรมเป็นทางไปสู่สุคติหรือทุคติ เรียกว่าอะไร ?

  1. กรรมเวร
  2. กรรมคติ
  3. กรรมนิมิต
  4. กรรมบถ

๔. อะไรเป็นใหญ่ในการทำความดีหรือความชั่ว ?

  1. มูลเหตุ
  2. เจตนา
  3. สิ่งล่อใจ
  4. พรหมลิขิต

๕. สิ่งที่ใจเข้าไปยึดแล้วเป็นเหตุให้ทำกรรม เรียกว่าอะไร ?

  1. สุข
  2. เจตนา
  3. ทุกข์
  4. อารมณ์

๖. กายกรรม หมายถึงอะไร ?

  1. การกระทำทางกาย
  2. การกระทำทางคำพูด
  3. การกระทำทางความคิด
  4. การกระทำทุกวิถีทาง

๗.ข้อใด เป็นวจีกรรมที่เกิดทางกาย ?

  1. พูดทีเล่นทีจริง
  2. พูดโทรศัพท์
  3. สั่นศีรษะปฏิเสธ
  4. ดูละครทีวี

๘. ข้อใด เป็นมโนกรรมอย่างเดียว ?

  1. ปาณาติบาต
  2. มิจฉาทิฏฐิ
  3. อทินนาทาน
  4. กาเมสุมิจฉาจาร

๙. ข้อใด เกิดทางกายทวารอย่างเดียว ?

  1. สัมมาทิฏฐิ
  2. มิจฉาทิฏฐิ
  3. กาเมสุมิจฉาจาร
  4. อทินนาทาน

๑๐. ข้อใด จัดเป็นกุศลกรรมบถ ?

  1. อนภิชฌา
  2. พยาบาท
  3. มิจฉาทิฏฐิ
  4. อทินนาทาน

๑๑. กรรมบถใด เกิดขึ้นเพราะความโลภอย่างเดียว ?

  1. อนภิชฌา
  2. พยาบาท
  3. อภิชฌา
  4. มิจฉาทิฏฐิ

๑๒. กรรมบถใด เกิดขึ้นเพราะความโกรธอย่างเดียว ?

  1. สัมมาทิฏฐิ
  2. พยาบาท
  3. มิจฉาทิฏฐิ
  4. อภิชฌา

๑๓. ข้อใด ไม่เป็นเหตุจูงใจให้ทำปาณาติบาต ?

  1. ปักษี
  2. ปักษา
  3. ปาณา
  4. ปรานี

๑๔. ข้อใด ไม่ใช่วัตถุแห่งอทินนาทาน ?

  1. อริยทรัพย์
  2. ลิขสิทธิ์
  3. ทรัพย์แผ่นดิน
  4. ทรัพย์มีเจ้าของ

๑๕. สัตว์ชนิดใด ควรฆ่าทิ้ง ?

  1. สุนัขบ้า
  2. ไก่เป็นหวัดนก
  3. วัวบ้า
  4. ไม่มีข้อถูก

๑๖. ฆ่าโดยอาการใด มีโทษมากที่สุด ?

  1. ฆ่าเพื่อป้องกันตัว
  2. ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
  3. ฆ่าเพราะบันดาลโทสะ
  4. ฆ่าเพราะป้องกันโรคติดต่อ

๑๗. การกระทำใด ไม่เป็นอทินนาทาน ?

  1. ยึดทรัพย์พ่อค้ายาบ้า
  2. บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
  3. ปลูกบ้านพักในป่าสงวน
  4. ทุจริตงบประมาณแผ่นดิน

๑๘. การสั่งบังคับให้คนอื่นไปขโมยของ เป็นอทินนาทานเกิดขึ้นทางทวารใด ?

  1. กายทวาร
  2. วจีทวาร
  3. มโนทวาร
  4. กายทวารกับมโนทวาร

๑๙. หากทุกคนไม่งดเว้นจากอทินนาทาน สังคมจะเป็นอย่างไร ?

  1. มีแต่ข่าวฆ่ากันตาย
  2. มีของหายทุกวัน
  3. เล่นการพนันทุกที่
  4. แทงลอตเตอรี่ทุกนัด

๒๐. หากทุกคนไม่งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร สังคมจะเป็นอย่างไร ?

  1. มีแต่คนเผลอใจ
  2. มีแต่คนใฝ่ต่ำ
  3. มีแต่คนอำพราง
  4. ถูกทุกข้อ

๒๑. โรคชนิดใด มีกาเมสุมิจฉาจารเป็นสมุฏฐาน ?

  1. โรคเอดส์
  2. โรคไข้หวัดนก
  3. โรคเรื้อน
  4. โรคซาง

๒๒. คำว่า “ ยุแยงตะแคงรั่ว ” หมายถึงคำพูดเช่นไร ?

  1. คำเท็จ
  2. คำส่อเสียด
  3. คำหยาบ
  4. คำเพ้อเจ้อ

๒๓. มุสาวาทข้อใด สักว่าเป็นเพียงกรรม แต่ไม่ถึงกับเป็นกรรมบถ ?

  1. เห็นบอกว่าไม่เห็น
  2. ได้ยินบอกว่าไม่ได้ยิน
  3. รู้บอกว่าไม่รู้
  4. พูดเรื่องเหลือเชื่อ

๒๔. ข้อใด ไม่ใช่ลักษณะแห่งปิสุณวาจา ?

  1. พูดใส่ร้ายคนทั่วไป
  2. พูดให้เขาทิ้งคนอื่นมารักตน
  3. พูดให้คนหนึ่งเกลียดอีกคนหนึ่ง
  4. พูดให้คนสองฝ่ายแตกแยกกัน

๒๕. ความตั้งใจของคนพูดปิสุณวาจา เพื่อให้เกิดผลอย่างไร ?

  1. เพื่อหลอกลวง
  2. เพื่อล้อเล่น
  3. เพื่อให้แตกแยก
  4. เพื่อให้เจ็บใจ

๒๖. ด่าใคร จึงสำเร็จเป็นกรรมบถ ?

  1. คนหูหนวก
  2. เพื่อนร่วมชาติ
  3. เทวดาฟ้าดิน
  4. เพื่อนต่างภาษา

๒๗. การพูดยุยงให้แตกความสามัคคีข้อใด มีโทษมากที่สุด ?

  1. ให้น้องไม่นับถือพี่
  2. ให้เด็กไม่เคารพครู
  3. ให้คนไม่เข้าวัด
  4. ให้คนขบถต่อชาติ

๒๘. ด่าอย่างไร มีโทษมาก ?

  1. ด่าต่อหน้า
  2. ด่าลับหลัง
  3. ด่าฝาก
  4. ด่าเพราะเมตตา

๒๙. ความรู้สึกเช่นไร เป็นอาการแห่งอภิชฌา ?

  1. ยักยอกของเขา
  2. ทะเยอทะยาน
  3. อยากได้โดยทุจริต
  4. กระวนกระวาย

๓๐. อภิชฌาที่สำเร็จเป็นกรรมบถ มีลักษณะเช่นไร ?

  1. อยากได้เป็นของตน
  2. อยากได้ชั่วคราว
  3. อยากได้อย่างเขา
  4. อยากได้อย่างนั้น

๓๑. คำว่า “ ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ ” เป็นอาการแห่งอะไร ?

  1. อภิชฌา
  2. มิจฉาทิฏฐิ
  3. พยาบาท
  4. ผรุสวาจา

๓๒. การทำร้ายผู้บริสุทธิ์ ย่อมได้รับผลกรรมอย่างไร ?

  1. เจ็บป่วยอย่างหนัก
  2. ของรักสูญหาย
  3. ความร้ายเข้าบีฑา
  4. ถูกทุกข้อ

๓๓. เห็นว่า “ ฆ่าพระไม่บาป ” เป็นมิจฉาทิฏฐิอะไร ?

  1. นัตถิกทิฏฐิ
  2. อเหตุกทิฏฐิ
  3. อกิริยทิฏฐิ
  4. อุจเฉททิฏฐิ

๓๔. เห็นว่า “ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ” ข้อใดถูกต้อง ?

  1. สัมมาทิฏฐิ
  2. สัมมาสังกัปปะ
  3. สัมมาอาชีวะ
  4. สัมมาวายามะ

๓๕. ความเชื่อเช่นไร เป็นสัมมาทิฏฐิ ?

  1. เชื่อว่าพรหมลิขิต
  2. เชื่อว่าฟ้าดินลิขิต
  3. เชื่อว่ากรรมลิขิต
  4. เชื่อถือเรื่องมงคล

๓๖. การไม่คิดโลภอยากได้ของใคร หมายถึงข้อใด ?

  1. อโลภะ
  2. อโทสะ
  3. อโมหะ
  4. อโกธะ

๓๗. ความรู้สึกสบายใจในขณะระลึกถึงพระรัตนตรัย เรียกว่าอะไร ?

  1. ทุกขเวทนา
  2. โสมนัสสเวทนา
  3. โทมนัสสเวทนา
  4. อุเบกขาเวทนา

๓๘. ผู้ไม่คิดผูกอาฆาตว่า เขาได้ทำร้ายเรา เพราะมีธรรมข้อใด ?

  1. อโลภะ
  2. อภิชฌา
  3. อพยาบาท
  4. อนภิชฌา

๓๙. กุศลกรรมบถข้อใด จะสำเร็จได้ต้องมีเจตนา ?

  1. ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
  2. ไม่วิปริตผิดธรรม
  3. ไม่อยากได้ของเขา
  4. ไม่เฝ้าปองร้ายผู้อื่น

๔๐. รากเหง้าแห่งการทำความดี เรียกว่าอะไร ?

  1. กุศลมูล
  2. กุศลกรรม
  3. กุศลจิต
  4. กุศลเจตนา

๔๑. ได้ยินเสียงพระสวดมนต์แล้วมีจิตเบิกบาน เป็นกรรมอะไร ?

  1. กายกรรม
  2. วจีกรรม
  3. มโนกรรม
  4. ถูกทุกข้อ

๔๒. บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้มีความเห็นชอบ ย่อมได้รับผลเช่นไร ?

  1. ทุคติ
  2. สุคติ
  3. อบาย
  4. นิรยะ

๔๓. ลักษณะแห่งการพูดดีมีประโยชน์ ตรงกับข้อใด ?

  1. ประสานคน
  2. ประสานรอยร้าว
  3. ประสานประโยชน์
  4. ถูกทุกข้อ

๔๔. ผู้มีเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง วางท่อนไม้ วางศัสตรา หมายถึงใคร ?

  1. ผู้ละปาณาติบาต
  2. ผู้ละอทินนาทาน
  3. ผู้ละอพรหมจรรย์
  4. ผู้ละมุสาวาท

๔๕. คนมีอุปนิสัยชอบเสียสละ สามารถกำจัดอะไรได้ ?

  1. ความไม่รู้
  2. ความโกรธ
  3. ความหลง
  4. ความโลภ

๔๖. คนมีอุปนิสัยไม่ชอบทำร้ายใคร มีคุณธรรมใดเด่นชัด ?

  1. เมตตาสงสาร
  2. คนพาลไม่คบ
  3. คบแต่บัณฑิต
  4. มีจิตใจเผื่อแผ่

๔๗. ข้อใด เป็นทางแห่งความสะอาดกาย วาจา ใจ ?

  1. บูชาไฟ
  2. ไหว้พระอาทิตย์
  3. ไม่ผิดกุศลกรรมบถ
  4. งดเว้นอบายมุข

๔๘. ศีลเป็นเหตุให้ได้ไปสู่สุคติ หมายถึงให้ได้เกิดเป็นอะไร ?

  1. มนุษย์
  2. เทวดา
  3. พรหม
  4. ถูกทุกข้อ

๔๙. อะไรเป็นเหตุให้กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล เสมอกันในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์ ?

  1. การศึกษาธรรม
  2. การประพฤติธรรม
  3. ความยุติธรรม
  4. การสนทนาธรรม

๕๐. “ รักสุขหวังสบาย อย่าลืมสร้างทางกุศล ” ทางกุศลคือข้อใด ?

  1. กุศลมูล
  2. อกุศลมูล
  3. กุศลกรรมบถ
  4. อกุศลกรรมบถ