ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  ธรรมศึกษาชั้นเอก พ.ศ. ๒๕๕๒

๑. ธรรมวิจารณ์ หมายถึงข้อใด

  • การวิพากษ์วิจารณ์ธรรม
  • การเลือกเฟ้นพิจารณาธรรม
  • การโต้วาทีในหัวข้อธรรม
  • การวิเคราะห์ธรรม

๒. คนผู้ไร้พิจารณ์ หมายถึง…..?

  • ไร้การศึกษา
  • ไร้ความสามารถ
  • ไร้ศีลธรรม
  • ไร้ปัญญาพิจารณา

๓. ผู้ข้องอยู่ในโลกมีอาการเช่นไร

  • ติดในสิ่งล่อใจ
  • สนใจข่าวสารโลก
  • อยากมีอยากเป็น
  • อยากเกิดในโลก

๔. ผู้ข้องอยู่ในโลกจะได้รับผลอย่างไร

  • ได้สุขฝ่ายเดียว
  • สนใจข่าวสารโลก
  • ได้ทั้งสุขและทุกข์
  • ไม่ได้ทั้งสุขและทุกข์

๕. “ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่” หมายความว่าอย่างไร

  • ผู้รู้ยังยินดีอยู่
  • ผู้ข้องอยู่จึงจะได้รู้
  • ผู้รู้เป็นผู้ฉลาด
  • ผู้รู้โลกตามความเป็นจริง

๖. ท่านเปรียบสิ่งที่มีอุปการะว่าเหมือนเภสัช เพราะเหตุใด

  • ให้คุณฝ่ายเดียว
  • ให้โทษฝ่ายเดียว
  • ให้ทั้งคุณและโทษ
  • ให้ความสะดวกสบาย

๗. คำว่า “นิพพิทา” มีความหมายตรงกับข้อใด

  • ความหน่ายทำบาป
  • ความหน่ายปฏิบัติธรรม
  • ความหน่ายที่เกิดจากกิเลส
  • ความหน่ายในกองสังขาร

๘. คำว่า “มาร” มีความหมายตรงกับข้อใด

  • ล้างผลาญชีวิต
  • ล้างผลาญความดี
  • ล้างผลาญความเจริญ
  • ล้างผลาญสติปัญญา

๙. “ผู้ใดรักษาจิตผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร” คำว่า มาร หมายถึง

  • พญามาร
  • กิเลสมาร
  • ขันธมาร
  • อภิสังขารมาร

๑๐. คำว่า “บ่วงแห่งมาร” คืออะไร

  • วัตถุกาม
  • กิเลสกาม
  • กามราคะ
  • กามตัณหา

๑๑. กามคุณ ๕ จัดเป็นบ่วงแห่งมารเพราะเหตุใด

  • ทำให้ใจเศร้าหมอง
  • ทำให้ใจเดือดร้อน
  • ทำให้ใจเบิกบาน
  • ทำให้ใจหลงติด

๑๒. จะพ้นจากบ่วงแห่งมารได้ต้องทำอย่างไร

  • ให้ทาน
  • รักษาศีล
  • ฟังธรรม
  • สำรวมจิต/เจริญปัญญา

๑๓. ข้อใดไม่ใช่อาการสำรวมจิต

  • สำรวมอินทรีย์
  • สำรวมในปาฏิโมกข์
  • บำเพ็ญสมถะ
  • เจริญวิปัสสนา

๑๔. สามัญญลักษณะ ได้แก่อะไร

  • ลักษณะไม่เที่ยง
  • ลักษณะเป็นทุกข์
  • ลักษณะไม่ใช่ตัวตน
  • ลักษณะเสมอกันแห่งสังขาร

๑๕. สังขารในขันธ์ ๕ ตรงกับข้อใด

  • สภาพอันธรรมดาแต่งขึ้น
  • สภาพผู้ปรุงแต่งใจ
  • สภาพอันธาตุ ๕ แต่งขึ้น
  • สภาพที่เป็นเอง

๑๖. ข้อใดไม่ใช่อนิจจลักษณะ

  • ว่างเปล่า
  • แปรไปในระหว่าง
  • ไม่คงที่
  • เกิดแล้วดับ

๑๗. คำว่า “ปกิณณกทุกข์” ในทุกขตาได้แก่อะไร

  • ชาติ
  • ชรา
  • มรณะ
  • โสกะ

๑๘. อะไรปิดบังไว้ จึงมองไม่เห็นอนิจจลักษณะ

  • ความเข้าใจผิด
  • ความเคลื่อนไหว
  • ความสืบต่อ
  • ความเป็นกลุ่มก้อน

๑๙. สภาวทุกข์ได้แก่ข้อใด

  • ความเจ็บปวด
  • ความแก่ชรา
  • ความร้อนใจ
  • ความหิวกระหาย

๒๐. นิพัทธทุกข์ ทุกข์เนืองนิตย์ ได้แก่อะไร

  • ชาติ
  • ชรา
  • โสกะ
  • หิว

๒๑. สันตาปทุกข์ เกิดจากอะไร

  • เกิดเอง
  • ผลกรรม
  • กิเลส
  • ทุกขเวทนา

๒๒. การเห็นอนัตตา ต้องมีอะไรกำกับ จึงจะไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ

  • ศรัทธา
  • นิพพิทา
  • สมาธิ
  • โยนิโสมนสิการ

๒๓. คำสอนในข้อใด ที่ศาสนาอื่นไม่มี

  • บาป บุญ
  • นรก สวรรค์
  • อนัตตา
  • ตายแล้วเกิด

๒๔. คำว่า “วิมุตติ” หมายถึง การหลุดพ้นจากอะไร

  • ตัณหา
  • อาสวกิเลส
  • อวิชชา
  • อุปทาน

๒๕. การอ้อนวอนบวงสรวง จัดเข้าในอาสวะข้อใด

  • อวิชชาสวะ
  • กามาสว
  • กิเลสาสวะ
  • ภวาสวะ

๒๖. กิเลสที่หมักดองอยู่ในจิตตสันดาน เรียกว่าอะไร

  • อนุสัย
  • อาสวะ
  • โอฆะ
  • อวิชชา

๒๗. ปฏิปทาของพระอรหันต์ผู้เจริญสมถะก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาเรียกว่าอะไร

  • เจโตวิมุตติ
  • ปัญญาวิมุตติ
  • วิกขัมภนวิมุตติ
  • สมุทเฉทวิมุตติ

๒๘. ความบริสุทธิ์ภายใน ย่อมมีได้ด้วยอะไร

  • ทาน
  • ศีล
  • สมาธิ
  • ปัญญา

๒๙. สัมมาวายามะในมรรค ๘ สงเคราะห์เข้าในวิสุทธิข้อใด

  • สีลวิสุทธิ
  • จิตตวิสุทธิ
  • ทิฏฐิวิสุทธิ
  • ญาณทัสสนวิสุทธิ

๓๐. การพิจารณาเห็นสังขารโดยไตรลักษณ์ จัดเป็นวิสุทธิอะไร

  • จิตตวิสุทธิ์
  • กังขาวิตรณวิสุทธิ
  • ทิฏฐิวิสุทธิ
  • ญาณทัสสนวิสุทธิ

๓๑. ผู้เว้นจากการเบียดเบียนทางกาย วาจา ใจ ชื่อว่ามีธรรมใดอยู่ภายใน

  • วิมุตติ
  • วิสุทธิ
  • วิราคะ
  • สันติ

๓๒. ธรรมใดส่งเสริมให้สังคมเกิดสันติสุข

  • สุจริต
  • บุญกิริยาวัตถุ
  • อคติ
  • พรหมวิหาร

๓๓. โลกามิส ได้แก่อะไร

  • กามคุณ
  • กามตัณหา
  • กามราคะ
  • กิเลสกาม

๓๔. จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คืออะไร

  • สวรรค์
  • พรหมโลก
  • นิพพาน
  • ดับสูญ

๓๕. “หาเครื่องเสียงแทงมิได้” เป็นความหมายของข้อใด

  • วิราคะ
  • นิพพิทา
  • วิมุตติ
  • นิพพาน

๓๖. “ภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้ เรืออันเธอวิดแล้ว จักพลันถึง” เรือในที่นี้หมายถึงอะไร

  • วัตถุ
  • สัตว์
  • อัตตภาพ
  • กิเลส

๓๗. กัมมัฏฐาน คืออะไร

  • อุบายชำระจิต
  • อุบายกำจัดกิเลส
  • อุบายสงบใจ
  • อุบายเรืองปัญญา

๓๘. ความมีจิตแน่วแน่ เรียกว่าอะไร

  • สมาบัติ
  • สมาธิ
  • ฌาน
  • กัมมัฏฐาน

๓๙. จิตเป็นสมาธิ ต้องเป็นจิตสงบจากอะไร

  • กิเลสตัณหา
  • อาสวะกิเลส
  • อกุศลวิตก
  • นิวรณ์

๔๐. คนราคะจริต ควรเจริญกัมมัฏฐานข้อใด

  • เมตตา
  • กรุณา
  • อสุภะ
  • อนุสสติ

๔๑. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวได้ถูกต้อง

  • อสุภะแก้โทสจริต
  • เมตตาแก้สัทธาจริต
  • ศรัทธาแก้วิตกจริต
  • อานาปานสติแก้โมหจริต

๔๒. คนประเภทใด ปฏิบัติกัมมัฏฐานไม่ได้ผล

  • คนหลงสติ
  • คนหนุ่มสาว
  • เด็กนักเรียน
  • คนเจ็บป่วย

๔๓. “ทรงเป็นผู้ฝึกฝนได้อย่างยอดเยี่ยม” ตรงกับพุทธคุณข้อใด

  • สมฺมาสมฺพุทฺโธ
  • วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
  • อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
  • สตฺถา เทวมนุสฺสานํ

๔๔. พุทธคุณข้อใด จัดเป็นพระวิสุทธิคุณ

  • อรหํ
  • สมฺมาสมฺพุทฺโธ
  • ภควา
  • วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน

๔๕. ตจปัญจกกัมมัฏฐาน มีวิธีพิจารณาโดยอาการอย่างไร

  • โดยเป็นของน่ารัก
  • โดยเป็นของโสโครก
  • โดยความไม่เที่ยง
  • โดยความมิใช่ตัวตน

๔๖. คนนอนฝันร้าย ควรเจริญกัมมัฏฐานอะไร

  • เมตตา
  • กายคตาสติ
  • กสิณ
  • จตุธาตุววัตถาน

๔๗. คนละโมบในอาหาร แก้ด้วยกัมมัฏฐานชนิดใด

  • อสุภกัมมัฏฐาน
  • มรณัสสติ
  • อนุสสติกัมมัฏฐาน
  • อาหาเรปฏิกูลสัญญา

๔๘. คำว่า “วิปัสสนา” มีความหมายว่าอย่างไร

  • เห็นแจ้งรูปนาม
  • เห็นแจ้งนิพพาน
  • เห็นแจ้งสังขาร
  • เห็นแจ้งอวิชชา

๔๙. อะไรเป็นเหตุให้ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาเข้าใจผิดวาตนบรรลุมรรคผล

  • วิปัลลาส
  • วิปัสสนูปกิเลส
  • อุปกิเลส
  • นิวรณ์

๕๐. ผลสูงสุดของวิปัสสนา คืออะไร

  • เห็นสังขารเกิดดับ
  • เห็นสังขารตามเป็นจริง
  • เห็นสังขารเป็นทุกข์
  • เห็นสังขารเป็นอนัตตา