ปัญหาและเฉลยวิชาอุโบสถศีล (วินัย)  ธรรมศึกษาชั้นโท พ.ศ. ๒๕๕๒

๑. วิชาอุโบสถศีล มีรายละเอียดเนื้อหาเกี่ยวกับศีลในข้อใด ?

ก. ศีล ๕
ข. ศีล ๘
ค. ศีล ๑๐
ง. ศีล ๒๒๗

๒. ในการบำเพ็ญกุศลทุกครั้ง เหตุใดจึงต้องสมาทานศีลก่อน ?

ก. เพราะเป็นเครื่องรองรับกุศลกรรม
ข. เพราะศีลเป็นอุบายทำกายใจให้ตั้งมั่น
ค. เพราะต้องการสืบทอดประเพณีนิยม
ง. เพราะให้ปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีกรรม

๓. แผ่นดินเป็นที่รองรับทุกสรรพสิ่ง ศีลเป็นเครื่องรองรับอะไร ?

ก. กุศลจิต
ข. กุศลกรรม
ค. กุศลมูล
ง. กุศลธรรม

๔. แรกจะนับถือพระพุทธศาสนา ควรเปล่งวาจาเข้าถึงพระรัตนตรัย เพื่อปลูกฝังคุณธรรมใดให้เกิดขึ้นก่อน ?

ก. ศีล
ข. ศรัทธา
ค. จาคะ
ง. ปัญญา

๕. คําว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ พระพุทธเจ้าตรัสแก่ใครเป็นครั้งแรก ?

ก. พระเจ้าพิมพิสาร
ข. พระมหาสาวก ๘๐
ค. พระอรหันต์ ๖๐
ง. พระปัญจวัคคีย์ ๕

๖. ในพระรัตนตรัย อะไรรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในทางที่ชั่ว ?

ก. พระพุทธ
ข. พระธรรม
ค. พระสงฆ์
ง. ถูกทุกข้อ

๗. คําว่า สรณะ ในอุโบสถศีล หมายถึงอะไร ?

ก. วัตถุมงคล
ข. พระพุทธรูป
ค. โชควาสนา
ง. พระรัตนตรัย

๘. การถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก เรียกอะไร ?

ก. อาราธนาศีล
ข. สมาทานศีล
ค. รับสรณคมน์
ง. รักษาศีล ๘

๙. การเข้าถึงสรณคมน์ของใคร มีความมั่นคงมากกว่าของผู้อื่น ?

ก. ปุถุชน
ข. สามัญชน
ค. อริยชน
ง. โลกิยชน

๑๐. การเข้าถึงสรณคมน์ของพุทธศาสนิกชน จะสิ้นสุดลงตอนใด ?

ก. เกิดสงสัย
ข. ศีลขาด
ค. ไม่เชื่อถือ
ง. เสียชีวิต

๑๑. สงสัยว่าพระพุทธเจ้ามีจริงหรือ เป็นเหตุให้สรณคมน์เป็นเช่นไร ?

ก. เศร้าหมอง
ข. บกพร่องไป
ค. ต้องรับใหม่
ง. ขาดลงทันที

๑๒. สรณคมน์เศร้าหมองเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ ตรงกับเรื่องใด ?

ก. ไม่เล่าเรียนคำสอน
ข. ไม่เชื่อเรื่องบุญ
ค. ไม่เคารพพระสงฆ์
ง. สงสัยเรื่องนรก

๑๓. ปฏิบัติตนอย่างไร จึงถูกต้องตามหลักการเข้าถึงสรณคมน์ ?

ก. ขอพรดีจากหนูหูทิพย์
ข. ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วถิ่นไทย
ค. สร้างพระพิฆเนศวร์ใหญ่
ง. ให้ปฏิบัติขัดเกลากิเลส

๑๔. พระรัตนตรัยมีความเกี่ยวเนื่องกัน หากเปรียบพระพุทธเจ้าเป็นผู้ชี้ขุมทรัพย์ พระสงฆ์จะเปรียบเหมือนอะไร ?

ก. คนฝังขุมทรัพย์
ข. คนเฝ้าขุมทรัพย์
ค. คนพบขุมทรัพย์
ง. คนใช้สอยทรัพย์

๑๕. ข้อใด เป็นประโยชน์สูงสุดในการเข้าถึงพระรัตนตรัย ?

ก. ได้สวดมนต์
ข. ได้กราบไหว้
ค. ได้ตักบาตร
ง. ได้เห็นธรรม

๑๖. ข้อใด ถือเป็นที่พึ่งสูงสดในทางพระพุทธศาสนา ?

ก. พระรัตนตรัย
ข. ต้นไม้
ค. ภูเขา
ง. แม่น้ำ

๑๗. อุโบสถ เป็นเรื่องบำเพ็ญกุศลความดีของใคร

ก. คฤหัสถ์
ข. ภิกษุ
ค. สามเณร
ง. แม่ชี

๑๘. การรักษาอุโบสถ บัญญัติขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ใด ?

ก. เพื่อทำกิจทางพระพุทธศาสนา
ข. เพื่อหยุดการงานของคฤหัสถ์
ค. เพื่อขัดเกลากิเลสอย่างหยาบ
ง. ถูกทุกข้อ

๑๙. การรักษาอุโบสถ เริ่มปฏิบัติกันมาตั้งแต่เมื่อไร ?

ก. ก่อนพุทธกาล
ข. สมัยพุทธกาล
ค. กึ่งพุทธกาล
ง. หลังพุทธกาล

๒๐. การรักษาอุโบสถ นอกจากให้ทานรักษาศีลและเจริญภาวนาแล้ว ควรทำอย่างไรอีก ?

ก. อยู่ให้ครบเดือน
ข. อยู่ให้ครบพรรษา
ค. อยู่ให้ครบเวลา
ง. อยู่ครึ่งวันพอแล้ว

๒๑. อุโบสถนอกพุทธกาลกับสมัยพุทธกาล เหมือนกันในข้อใด ?

ก. การรักษาศีล ๘
ข. การรักสรณคมน์
ค. การสมาทานศีล
ง. การงดเว้นอาหาร

๒๒. หากรักษาปฏิชาครอุโบสถในจวัน ๘ ค่ำ วันรับจะเป็นวันกี่ค่ำ ?

ก. ๖ ค่ำ
ข. ๗ ค่ำ
ค. ๘ ค่ำ
ง. ๙ ค่ำ

๒๓. อุโบสถที่อุบาสกอุบาสิกานิยมรักษาในวันพระวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง เป็นอุโบสถประเภทใด ?

ก. ปกติอุโบสถ
ข. ปฏิชาครอุโบสถ
ค. ปาฏิหาริยอุโบสถ
ง. นิคคัณฐอุโบสถ

๒๔. อุโบสถประเภทใด เทียบได้กับการอยู่จำพรรษาของพระภิกษุ ?

ก. ปกติอุโบสถ
ข. ปฏิชาครอุโบสถ
ค. ปาฏิหาริยอุโบสถ
ง. นิคคัณฐอุโบสถ

๒๕. อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ หมายถึงข้อใด ?

ก. ทิศ ๘
ข. บุคคล ๘
ค. ศีล ๘
ง. มรรค ๘

๒๖. การจะรักษาอุโบสถศีลไม่ให้ขาดไม่ให้ด่างพร้อย ต้องทำอย่างไร ?

ก. สมาทานศีล
ข. งดจากข้อห้าม
ค. ตั้งใจภาวนา
ง. ถือให้ครบเวลา

๒๗. อุโบสถศีลข้อใด ขาดเพราะประพฤติผิดทางวาจา ?

ก. ปาณาติบาต
ข. อทินนาทาน
ค. กาเมสุมิจฉาจาร
ง. มุสาวาท

๒๘. อุโบสถศีลข้อใด ขาดเพราะประพฤติเกี่ยวข้องในกาม ?

ก. สิกขาบทที่ ๑
ข. สิกขาบทที่ ๒
ค. สิกขาบทที่ ๓
ง. สิกขาบทที่ ๔

๒๙. เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในอุโบสถศีลข้อ ๕ คืออะไร ?

ก. ฆ่าสัตว์
ข. ลักขโมย
ค. พูดปด
ง. ดื่มน้ำเมา

๓๐. คำว่า อพรหมจรรย์ ในอุโบสถศีลข้อที่ ๓ หมายถึงอะไร

ก. การล่วงประเวณี
ข. การร้องเพลง
ค. การดื่มสุราเมรัย
ง. การอดอาหาร

๓๑. สิ่งเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ในอุโบสถศีลข้อ ๓ คืออะไร ?

ก. แต่งตัว
ข. เสพกาม
ค. พูดปด
ง. ลักขโมย

๓๒. ในอุโบสถศีลข้อ ๖ กำหนดให้ผู้สมาทานรักษาต้องงดเว้นอะไร ?

ก. ขับร้อง
ข. ดูการเล่น
ค. แต่งตัว
ง. อาหารค่ำ

๓๓. อุโบสถศีลข้อที่ ๗ กำหนดให้ผู้สมาทานรักษาต้องเว้นเรื่อนใด ?

ก. เสพกาม
ข. ลักทรัพย์
ค. แต่งตัว
ง. ดื่มเหล้า

๓๔. กาลที่กำหนดให้ผู้รักษาอุโบสถบริโภคอาหารได้ ตรงกับข้อใด ?

ก. ตอนเช้า
ข. ตอนบ่าย
ค. ตอนเย็น
ง. ตอนค่ำ

๓๕. วันอัฏฐมีในคำประกาศอุโบสถ หมายถึงวันกี่ค่ำ ?

ก. วัน ๘ ค่ำ
ข. วัน ๑๐ ค่ำ
ค. วัน ๑๔ ค่ำ
ง. วัน ๑๕ ค่ำ

๓๖. อุโบสถของใคร มีข้อห้ามในบางเรื่องไม่ห้ามในบางเรื่อง ?

ก. อุบาสก
ข. อุบาสิกา
ค. อาชีวก
ง. นิครนถ์

๓๗. ผู้รักษาอุโบสถทายากันยุง ถือว่าไม่ละเมิดศีล เพราะสาเหตุใด ?

ก. ป้องกันตัว
ข. ประเทืองผิว
ค. ให้สบายใจ
ง. ดับกลิ่นกาย

๓๘. การกระทำใด ไม่เป็นข้าศึกต่อการรักษาอุโบสถศีลข้อ ๗ ?

ก. ขับบทเสภา
ข. สวดสรภัญญะ
ค. ดูโขนละคร
ง. ฟ้อนรำขับร้อง

๓๙. ในการรักษาอุโบสถ ห้ามผู้สมาทานรักษานอนบนที่นอนสูงใหญ่ เพื่อป้องกันอะไร ?

ก. ความกำหนัด
ข. อุบัติเหตุ
ค. การนอนมาก
ง. สัตว์ร้าย

๔๐. ในพิธีรักษาอุโบสถ กำหนดให้ผู้สมาทานรักษาทำเรื่องใดก่อน ?

ก. กราบพระรัตนตรัย
ข. สมาทานศีล
ค. ประกาศคำอุโบสถ
ง. เจริญภาวนา

๔๑. ผู้สมาทานอุโบสถไม่รู้ภาษาบาลี ควรปฏิบัติอย่างไร ?

ก. กล่าวเป็นภาษาไทย
ข. กล่าวเป็นภาษาบาลี
ค. กล่าวที่หน้าพระพุทธรูป
ง. ไม่ต้องกล่าวเลยก็ได้

๔๒. ครั้นถึงวันอุโบสถ ควรสมาทานองค์อุโบสถในเวลาใด ?

ก. ตอนเช้า
ข. ตอนเที่ยงวัน
ค. ตอนบ่าย
ง. ตอนกลางคืน

๔๓. ปัจจุบัน นิมยมให้สมาทานศีลอุโบสถกับใคร ?

ก. พระพุทธเจ้า
ข. พระสงฆ์
ค. หลวงปู่ฤาษี
ง. คฤหัสถ์

๔๔. หลังเข้าจำอุโบสถ ปฏิบัติตนอย่างไร บาปอกุศลจึงไม่เกิดขึ้น ?

ก. นึกถึงบ้าน
ข. นึกถึงหลาน
ค. นึกถึงทาน
ง. นึกถึงลูก ๆ

๔๕. เรื่องที่ไม่ควรนำมาพูดในขณะถืออุโบสถศีล เรียกว่าอะไร ?

ก. อนุปุพพีกถา
ข. อริยมรรคกถา
ค. ติรัจฉานกถา
ง. อนุโมทนากถา

๔๖. พูดเรื่องทำมาหากินในขณะถืออุโบสถศีล จัดเป็นอุโบสถใด ?

ก. โคปาลกอุโบสถ
ข. อริยอุโบสถ
ค. นิคคัณฐอุโบสถ
ง. ปกติอุโบสถ

๔๗. อุโบสถประเภทใด มีอานิสงส์มาก เพราะตั้งใจรักษา ?

ก. โคปาลกอุโบสถ
ข. อริยอุโบสถ
ค. นิคคัณฐอุโบสถ
ง. ถูกทุกข้อ

๔๘. อุโบสถประเภทใด เปรียบผู้รักษาเหมือนคนรับจ้างเลี้ยงโค ?

ก. โคปาลกอุโบสถ
ข. ปาฏิหาริยอุโบสถ
ค. นิคคัณฐอุโบสถ
ง. ปฏิชาครอุโบสถ

๔๙. การถืออุโบสถศีลจะได้รับผลมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอะไร ?

ก. บุญบารมี
ข. โชควาสนา
ค. ชะตาชีวิต
ง. ความตั้งใจ

๕๐. อุโบสถศีล สร้างความปลอดภัยให้แก่มนุษย์อย่างไร ?

ก. ให้ได้เกิดบนสวรรค์
ข. ให้ไม่มีเวรต่อกัน
ค. ให้ทันพระศรีอาริย์
ง. ให้บรรลุนิพพาน