ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  ธรรมศึกษาชั้นเอก พ.ศ. ๒๕๔๕

๑. บุคคลจะพ้นจากบ่วงแห่งมารได้ ด้วยวิธีใด ?

  1. สำรวมอินทรีย์
  2. สำรวมในกาม
  3. สำรวมจิต
  4. ถูกทุกข้อ

๒. อะไร เรียกว่า มาร ?

  1. กิเลสกาม
  2. วัตถุกาม
  3. กามตัณหา
  4. กามฉันทะ

๓. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ จัดเป็นกามชนิดใด ?

  1. กิเลสกาม
  2. วัตถุกาม
  3. กามโอฆะ
  4. กามโยคะ

๔. ข้อใด เป็นความหน่ายในเบญจขันธ์เกิดด้วยปัญญา ?

  1. นิพพาน
  2. นิพพิทา
  3. วิสุทธิ
  4. วิมุตติ

๕. รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่าอะไร ?

  1. อินทรีย์ ๕
  2. กามคุณ ๕
  3. ขันธ์ ๕
  4. พละ ๕

๖. อนิจจลักษณะ ไม่ปรากฏในที่ใด ?

  1. ร่างกาย
  2. จิตใจ
  3. ต้นไม้
  4. ไม่มีข้อถูก

๗. สังขารที่มีใจครอง ได้แก่อะไร ?

  1. อาคารสถานที่
  2. ต้นไม้
  3. คนและสัตว์
  4. เชื้อโรค

๘. เกิด แก่ เจ็บ ตาย จัดเป็นทุกข์อะไร ?

  1. สภาวทุกข์
  2. ทุกข์จร
  3. ทุกข์ประจำ
  4. พยาธิทุกข์

๙. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ไม่ปรากฏที่ใด ?

  1. นิพพาน
  2. เวทนา
  3. สัญญา
  4. วิญญาณ

๑๐. ข้อใด เป็นทุกข์อันเกิดขึ้น เพราะถูกไฟคือราคะแผดเผา ?

  1. ทุกขเวทนา
  2. ทุกข์ประจำ
  3. สันตาปทุกข์
  4. ทุกข์รวบยอด

๑๑. ข้อใด จัดเป็นวิปากทุกข์ ?

  1. ทุกข์กลัวไม่มีงานทำ
  2. ทุกข์เพราะกลัวแพ้คดี
  3. ความหิว กระหายน้ำ
  4. ความร้อนใจเกิดจากการทุจริต

๑๒. อะไรปิดบังไว้ ไม่ให้เห็นความทุกข์ ?

  1. อิริยาบถ
  2. สันตติ
  3. ความปลงใจ
  4. ความเชื่อเรื่องกรรม

๑๓. ข้อใด แสดงว่า ศาสนาพุทธต่างจากศาสนาพราหมณ์ ?

  1. สอนเรื่องความทุกข์
  2. สอนเรื่องสังสารวัฏ
  3. สอนเรื่องอนัตตา
  4. สอนเรื่องบาป-บุญ

๑๔. ความไม่อยู่ในอำนาจ เป็นอาการของอะไร ?

  1. อนิจจตา
  2. ทุกขตา
  3. อนัตตตา
  4. ถูกทุกข้อ

๑๕. คำใด ไม่เกี่ยวข้องกับวิราคะ ?

  1. นิพพาน
  2. มรรค
  3. ความดับ
  4. ความสิ้นตัณหา

๑๖. อารมณ์อันยั่วยวนให้เกิดความเมา คือข้อใด ?

  1. บริวาร
  2. ลาภ ยศ
  3. ความไม่มีโรค
  4. ถูกทุกข้อ

๑๗. ข้อใด เป็นธรรมสำหรับยังความเมาให้สร่าง ?

  1. นิพพิทา
  2. วิราคะ
  3. วิมุตติ
  4. วิสุทธิ

๑๘. ความอยากอันมีอาการแส่หากามารมณ์ จัดเป็นตัณหาใด ?

  1. กามตัณหา
  2. ภวตัณหา
  3. วิภวตัณหา
  4. ถูกทุกข้อ

๑๙. เพราะสิ้นกำหนัดแล้ว จิตย่อมหลุดพ้นจากอะไร ?

  1. ตัณหา
  2. อาสวะ
  3. ราคะ
  4. ความถือมั่น

๒๐. ความผิดที่คนหนึ่งทำ อีกคนหนึ่งจะช่วยให้บริสุทธิ์ได้หรือไม่ ?

  1. ได้ เพราะเป็นแพะรับบาป
  2. ไม่ได้ เพราะความผิดเป็นของเฉพาะตน
  3. ไม่ได้ เพราะความบริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน
  4. ข้อ 2 และ 3 ถูก

๒๑. ผู้มุ่งความสงบอันเป็นสุข พึงละโลกามิสๆ คืออะไร ?

  1. รูปอันน่าปรารถนา
  2. เสียงอันน่าใคร่
  3. กลิ่นอันน่าชอบใจ
  4. ถูกทุกข้อ

๒๒. ข้อใด ไม่จัดเข้าในสีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล ?

  1. เจรจาชอบ
  2. ตั้งใจชอบ
  3. การงานชอบ
  4. เลี้ยงชีวิตชอบ

๒๓. การงดเว้นฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นความสงบทางใด ?

  1. ทางกาย
  2. ทางวาจา
  3. ทางใจ
  4. ทางกาย วาจา

๒๔. สุขอื่นจากความสงบไม่มี หมายถึงความสงบทางใด ?

  1. กายกับใจ
  2. กายกับวาจา
  3. กาย วาจา ใจ
  4. เฉพาะใจอย่างเดียว

๒๕. ดับ ออก เย็น หยุด เป็นสภาวธรรมของอะไร ?

  1. สันติ
  2. นิพพิทา
  3. สุคติ
  4. นิพพาน

๒๖. ใคร ได้ชื่อว่าปฏิบัติใกล้ต่อพระนิพพาน ?

  1. ผู้หนักในพระศาสดา
  2. ผู้หนักในพระธรรม
  3. ผู้เคารพในพระสงฆ์
  4. ถูกทุกข้อ

๒๗. การเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกว่าอะไร ?

  1. สังสารวัฏ
  2. คติ
  3. ภพ
  4. ชาตะ มตะ

๒๘. ภูมิเป็นที่ไปเบื้องหน้า หลังความตาย เรียกว่าอะไร ?

  1. คติ
  2. ภพ
  3. ที่ชอบ
  4. ชาติหน้า

๒๙. สุนัข แมว เป็นต้น ได้ชื่อว่า ดิรัจฉาน เพราะเหตุใด ?

  1. เพราะหาความเจริญมิได้
  2. เพราะเป็นผู้ไร้อำนาจ
  3. เพราะไปตามขวาง
  4. เพราะปราศจากความคิด

๓๐. เพราะเหตุใด ยมราชจึงถามเทวทูต ๕ กับคนที่ตายไปแล้ว ?

  1. เพื่อให้ไม่ประมาท
  2. เพื่อลงโทษตามความผิด
  3. เพื่อส่งมาเกิดใหม่
  4. ข้อ 1 และ 3 ถูก

๓๑. ข้อใด ไม่ใช่เทวทูต ๕ ?

  1. เด็กแรกคลอด
  2. คนถูกลงราชทัณฑ์
  3. สมณะ
  4. คนชรา

๓๒. ในขณะถูกทรมาน สัตว์นรกมีความปรารถนาอย่างไร ?

  1. ปรารถนาเป็นมนุษย์
  2. ปรารถนาฟังธรรม
  3. ปรารถนาบรรลุธรรม
  4. ถูกทุกข้อ

๓๓. การทำทักษิณานุประทาน เพื่อประโยชน์แก่ใคร ?

  1. พระสงฆ์
  2. ญาติที่ตายไปแล้ว
  3. คนมีเคราะห์
  4. คนกำลังใกล้ตาย

๓๔. สัตว์ในอบายภูมิ มีท้องใหญ่ มีปากเท่ารูเข็ม เรียกว่าอะไร ?

  1. มหาภูต
  2. อสุรกาย
  3. เปรต
  4. มนุษย์เปรต

๓๕. สัตว์ชนิดใด เกิดแก่ตายในที่มืด ?

  1. ไส้เดือน
  2. แมลงป่อง
  3. ตะขาบ
  4. ปลา

๓๖. สัตว์นรก ครั้นสิ้นกรรมแล้ว มาเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นเช่นไร ?

  1. เกิดในสกุลต่ำ
  2. มีชีวิตฝืดเคือง
  3. รูปร่างไม่สมประกอบ
  4. ถูกทุกข้อ

๓๗. ข้อใด เป็นคุณลักษณะของสมถภาวนา ?

  1. กำจัดอนุสัย
  2. ระงับนิวรณ์
  3. ตัดกรรม
  4. กำจัดอวิชชา

๓๘. กายคตาสติ เป็นคู่ปรับนิวรณ์ใด ?

  1. ความพอใจในกาม
  2. ความพยาบาท
  3. ความง่วง
  4. ความสงสัย

๓๙. ประโยชน์ของการพิจารณาอสุภกัมมัฏฐาน คือข้อใด ?

  1. เพื่อเสริมความงาม
  2. เพื่อคลายกำหนัด
  3. เพื่อตัดกิเลส
  4. เพื่อให้เกิดเมตตา

๔๐. คนมีความอาฆาตพยาบาท ควรเจริญกัมมัฏฐานใด ?

  1. พิจารณาซากศพ
  2. กำหนดลมหายใจ
  3. เจริญเมตตา
  4. เพ่งกสิณ

๔๑. กัมมัฏฐานที่กำหนดลมหายใจเป็นอารมณ์ เรียกว่าอะไร ?

  1. กายคตาสติ
  2. นั่งวิปัสสนา
  3. ทำสมาธิ
  4. อานาปานสติ

๔๒. ประโยชน์ของการพิจารณาอาหารว่า เป็นของปฏิกูล เพื่ออะไร ?

  1. เพื่อให้รู้จักรับประทานอาหาร
  2. เพื่อไม่ให้ติดในรสชาติอาหาร
  3. เพื่อให้งดเว้นอาหารที่เป็นโทษ
  4. เพื่อให้รู้จักประมาณในการบริโภค

๔๓. เพราะเหตุใด พระศาสดาจึงทรงชักนำให้บำเพ็ญสมาธิ ?

  1. เพราะจะได้ทำอะไรไม่ผิดพลาด
  2. เพราะจะได้พูดอะไรไม่ผิดพลาด
  3. เพราะจะได้คิดอะไรไม่ผิดพลาด
  4. ถูกทุกข้อ

๔๔. ความเห็นแจ้งชัดว่า ” สังขารทั้งหลาย ตกอยู่ในอำนาจแห่งไตรลักษณ์ ” เรียกว่าอะไร ?

  1. สมถะ
  2. วิปัสสนา
  3. สมาธิ
  4. สามัญญลักษณะ

๔๕. อะไรที่ทำให้ผู้เจริญกัมมัฏฐานเข้าใจผิดว่า ตนบรรลุมรรคผล ?

  1. อุปกิเลส
  2. ความเห็นผิด
  3. วิปัสสนูปกิเลส
  4. ความสำคัญผิด

๔๖. ความสำคัญว่า สังขารทั้งหลายเป็นของเที่ยง จัดเป็นวิปัลลาสข้อใด ?

  1. ทิฏฐิวิปัลลาส
  2. สัญญาวิปัลลาส
  3. จิตตวิปัลลาส
  4. ถูกทุกข้อ

๔๗. กัมมัฏฐานอย่างแรก ที่พระอุปัชฌาย์สอนกุลบุตรผู้มาขอบวชตรงกับข้อใด ?

  1. ศีล สมาธิ ปัญญา
  2. ทาน ศีล ภาวนา
  3. ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
  4. ปฐวี อาโป เตโช วาโย

๔๘. ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อยนิดเดียว พลันจะดับ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมากเมื่อยังมีชีวิตอยู่ควรทำอย่างไร ?

  1. ไหว้พระสวดมนต์
  2. ตักบาตร ทำบุญ
  3. เจริญพระกรรมมัฏฐาน
  4. ถูกทุกข้อ

๔๙. ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เหมือนโคที่เขานำไปฆ่า ตรงกับข้อใด ?

  1. มีชรา พยาธิ มรณะ คอยรุมเผาไม่ให้อยู่นาน
  2. วันคืนล่วงไปเท่าใด ก็ใกล้ความตายเข้าไปเท่านั้น
  3. วันคืนล่วงไป ก็นำเอาชีวิตล่วงตามไปด้วย
  4. ชีวิตนี้เป็นไปได้ เพราะมีปัจจัยคอยอุดหนุน

๕๐. สัญญา ๑๐ ประการ เกี่ยวข้องกับพระสูตรใด ?

  1. คิริมานนทสูตร
  2. มหาสติปัฏฐานสูตร
  3. อาทิตตปริยายสูตร
  4. อนัตตลักขณสูตร