ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ  ธรรมศึกษาชั้นโท พ.ศ. ๒๕๕๔

อนุพุทธประวัติ หมายถึงประวัติของใคร ?

  1. พระพุทธเจ้า
  2. พระปัจเจกพุทธเจ้า
  3. พระศาสดา
  4. พระสาวก

ผู้ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้เลิศในทางนั้น ๆ ตรงกับข้อใด ?

  1. อริยบุคคล
  2. สาวก
  3. เอตทัคคะ
  4. พหุสุตะ

พระมหาสาวกที่ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ ตามนัยพระบาลีมีกี่องค์ ?

  1. ๔๐ องค์
  2. ๔๑ องค์
  3. ๖๐ องค์
  4. ๘๐ องค์

พระธรรมราชา หมายถึงใคร ?

  1. พระพุทธเจ้า
  2. พระสารีบุตร
  3. พระภัททิยะ
  4. พระมหากัปปินะ

พระอัญญาโกณฑัญญะ ประกาศพระศาสนาครั้งแรกที่ใด ?

  1. พาราณสี
  2. กบิลพัสดุ์
  3. โทณวัตถุคาม
  4. อุรุเวลาเสนานิคม

ใครได้รับการอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นรูปแรก ?

  1. พระสารีบุตร
  2. พระมหากัสสปะ
  3. พระยสะ
  4. พระอัญญาโกณฑัญญะ

ผู้ได้รับยกย่องว่ามีบริวารมาก คือใคร ?

  1. พระอุรุเวลกัสสปะ
  2. พระสารีบุตร
  3. พระยสะ
  4. พระวัปปะ

พระสารีบุตร สำเร็จเป็นพระอรหันต์เพราะฟังธรรมอะไร ?

  1. ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
  2. อนัตตลักขณสูตร
  3. เวทนาปริคคหสูตร
  4. สังคีติสูตร

พระธรรมเสนาบดี เป็นชื่อเรียกพระเถระรูปใด ?

  1. พระสารีบุตร
  2. พระมหากัสสปะ
  3. พระราธะ
  4. พระยสะ

พระสาวกรูปใด เป็นพระอุปัชฌาย์รูปแรก ให้การบวชสามเณร ?

  1. พระมหาโมคคัลลานะ
  2. พระอุบาลี
  3. พระสารีบุตร
  4. พระมหากัสสปะ

พระสาวกรูปใด ดูแลการก่อสร้างวัดบุพพาราม ของนางวิสาขา ?

  1. พระโมคคัลลานะ
  2. พระอานนท์
  3. พระสารีบุตร
  4. พระนันทะ

พระสาวกรูปใด บวชเป็นภิกษุด้วยวิธีรับโอวาท ๓ ข้อ ?

  1. พระมหากัจจายนะ
  2. พระมหากัสสปะ
  3. พระราธะ
  4. พระกุมารกัสสปะ

ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง พระพุทธเจ้าตรัสแก่ใคร?

  1. ยสะ
  2. วิมละ
  3. สุพาหุ
  4. ปุณณชิ

ฆราวาสคับแคบ เป็นที่มาแห่งกิเลสธุลี เป็นคำพูดของใคร ?

  1. อุปติสสมาณพ
  2. โกลิตมาณพ
  3. อชิตมาณพ
  4. ปิปผลิมาณพ

พระสาวกรูปใด สามารถอธิบายพระสูตรที่ตรัสโดยย่อให้พิสดาร ?

  1. พระสารีบุตร
  2. พระมหากัสสปะ
  3. พระมหากัจจายนะ
  4. พระอานนท์

พิจารณาโลกนี้อย่างไร มัจจุราชจึงจักไม่แลเห็น ใครทูลถาม ?

  1. อชิตมาณพ
  2. โมฆราชมาณพ
  3. ปิงคิยมาณพ
  4. โธตกมาณพ

พระสาวกรูปใด ได้รับเอตทัคคะด้านทรงจีวรเศร้าหมอง ?

  1. พระเหมกะ
  2. พระนันทกะ
  3. พระโมฆราช
  4. พระอชิตะ

พระสีวลี เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านใด ?

  1. มีลาภมาก
  2. มีบริวารมาก
  3. มีบุญมาก
  4. มีปัญญามาก

พระวังคีสะ เคาะกะโหลกศีรษะของใครแล้วไม่รู้ที่เกิด ?

  1. ปริพาชก
  2. เทวดา
  3. เดียรถีย์
  4. พระอรหันต์

อะไรเป็นแรงจูงใจให้พระวังคีสะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ?

  1. ฟังธรรมเกิดศรัทธา
  2. เห็นโทษการครองเรือน
  3. เห็นอานิสงส์การบวช
  4. ต้องการจะเรียนมนต์

พรข้อสุดท้ายที่พระอานนท์ทูลขอ คือข้อใด ?

  1. อย่าประทานจีวรอันประณีต
  2. อย่าพาไปในที่นิมนต์
  3. ถามข้อสงสัยได้ทุกเวลา
  4. เมื่อไม่อยู่ในที่แสดงธรรม ขอให้แสดงซ้ำอีกครั้ง

พระสาวกรูปใด ไม่มีโอกาสครองผ้ากาสาวพัสตร์ก่อนนิพพาน ?

  1. พระปิลินทวัจฉะ
  2. พระมหากัปปินะ
  3. พระพาหิยทารุจีริยะ
  4. พระอานนท์

พระพาหิยทารุจีริยะ ได้รับเอตทัคคะด้านใด ?

  1. มีบริวารมาก
  2. ตรัสรู้เร็ว
  3. ชำนาญมโนมยิทธิ
  4. เป็นที่รักของเทวดา

พระนันทเถระ ได้รับยกย่องว่าเลิศด้านใด ?

  1. สำรวมอินทรีย์
  2. ถือธุดงค์
  3. เกิดในตระกูลสูง
  4. มีปฏิภาณไหวพริบ

ความรักไม่มีที่สิ้นสุด เป็นความดำริเพื่อสลัดจากทุกข์ของใคร ?

  1. พระมหากัจจายนะ
  2. พระอานนท์
  3. พระนันทะ
  4. พระอนุรุทธะ

พระสาวกรูปใด เป็นเลิศด้านทิพยจักษุ ?

  1. พระมหากัจจายนะ
  2. พระมหากัสสปะ
  3. พระอนุรุทธะ
  4. พระปุณณมันตานีบุตร

พระสาวกรูปใด ตรึกมหาปุริสวิตก ๗ ประการ ?

  1. พระอุบาลี
  2. พระอานนท์
  3. พระอนุรุทธะ
  4. พระนันทะ

พระสาวกรูปใด ยอมอดข้าวตาย ถ้าไม่ได้ออกบวช ?

  1. พระมหากัปปินะ
  2. พระรัฐบาล
  3. พระปิลินทวัจฉะ
  4. พระอานนท์

ใครทำหน้าที่วินิจฉัยอธิกรณ์ กรณีมารดาของกุมารกัสสปะ ?

  1. พระมหากัสสปะ
  2. พระอานนท์
  3. พระสารีบุตร
  4. พระอุบาลี

พระสาวกรูปใด วิสัชนาพระวินัย ในคราวทำสังคายนาครั้งแรก ?

  1. พระมหากัสสปะ
  2. พระอานนท์
  3. พระอุบาลี
  4. พระอนุรุทธะ

พระโสณกุฏิกัณณะต้องเป็นสามเณรอยู่ถึง ๓ ปี จึงได้อุปสมบท เพราะเหตุใด ?

  1. พระพุทธเจ้าไม่ทรงบวชให้
  2. สงฆ์ไม่เป็นใหญ่รับบวชกุลบุตร
  3. ไม่มีพระอุปัชฌาย์บวชให้
  4. พระสงฆ์ไม่ครบ ๑๐ รูป

พระสาวกรูปใด เป็นยอดแห่งผู้ว่าง่ายในพระธรรมวินัย ?

  1. พระอนุรุทธะ
  2. พระอานนท์
  3. พระราธะ
  4. พระฉันนะ

พระราธะ ได้รับอุปสมบทด้วยวิธีใด ?

  1. เอหิภิกขุอุปสัมปทา
  2. รับไตรสรณคมน์
  3. รับโอวาท ๓ ข้อ
  4. ญัตติจตุตถกรรม

วันเกิดพระสาวกรูปใด บิดาพูดว่า บ่วงเกิดแล้ว ?

  1. พระอานนท์
  2. พระอุบาลี
  3. พระราหุล
  4. พระอัสสชิ

พระพุทธเจ้าทรงประทานทรัพย์อะไรแก่ราหุลกุมาร ?

  1. ราชสมบัติ
  2. โภคทรัพย์
  3. ขุมทรัพย์
  4. อริยทรัพย์

พระบรมศาสดา ทรงยกย่องพระราหุลว่าอย่างไร ?

  1. เป็นผู้เลิศด้านพหูสูต
  2. เป็นผู้เลิศด้านมีตระกูลสูง
  3. เป็นผู้เลิศด้านใฝ่ในการศึกษา
  4. เป็นผู้เลิศด้านทรงพระวินัย

โลกคือหมู่สัตว์ พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม ใครกล่าว ?

  1. พระจักขุบาล
  2. พระรัฐบาล
  3. พระยามิลินท์
  4. พระเจ้าโกรัพยะ

เธอจะเฝ้าดูกายที่เปื่อยเน่านี้ไปทำไม ตรัสแก่พระสาวกรูปใด ?

  1. พระนันทะ
  2. พระวักกลิ
  3. พระราหุล
  4. พระอานนท์

พระนางรูปนันทาไม่กล้าไปฟังธรรม เพราะเหตุใด ?

  1. ไม่มีความคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้า
  2. ไม่รู้จักทางที่จะไปยังเชตวันวิหาร
  3. ละอายเพราะมีแต่ผื่นคันเกิดตามตัว
  4. กลัวถูกพระพุทธเจ้าตำหนิความงาม

โลกคือหมู่สัตว์อันอะไรปิดบังไว้ เป็นคำถามของใคร ?

  1. อุปติสสมาณพ
  2. โกลิตมาณพ
  3. นันทมาณพ
  4. อชิตมาณพ

ศาสนพิธี

ศาสนพิธี หมายถึงอะไร ?

  1. คำสอนทางศาสนา
  2. วิธีปฏิบัติทางศาสนา
  3. วินัยทางศาสนา
  4. ข้อบัญญัติทางศาสนา

การทำบุญอาหารตามฤดูกาลโดยวิธีจับสลาก เรียกว่าอะไร ?

  1. อุเทสภัต
  2. สลากภัต
  3. ปักขิกภัต
  4. สังฆภัต

พิธีตักบาตรเทโวโรหณะ ตรงกับวันใด ?

  1. วันเข้าพรรษา
  2. วันออกพรรษา
  3. วันขึ้นปีใหม่
  4. วันสงกรานต์

วันพระ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ?

  1. วันอุโบสถ
  2. วันวัสสูปนายิกา
  3. วันปาฏิบท
  4. วันธรรมสวนะ

อุโบสถกรรมที่ภิกษุร่วมกันทeตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป เรียกว่าอะไร ?

  1. สังฆอุโบสถ
  2. ปาริสุทธิอุโบสถ
  3. ศีลอุโบสถ
  4. อธิษฐานอุโบสถ

การฟังเทศน์ จัดเป็นการบำเพ็ญกุศลอย่างหนึ่ง เรียกว่าอะไร ?

  1. สีลมัย
  2. ธัมมัสสวนมัย
  3. ทานมัย
  4. ภาวนามัย

การสวดพระอภิธรรม จัดเป็นศาสนพิธีหมวดใด ?

  1. กุศลพิธี
  2. บุญพิธี
  3. ทานพิธี
  4. ปกิณกะ

ผ้าที่พระสงฆ์พิจารณาในพิธีทำบุญทอดผ้าป่า เรียกว่าอะไร ?

  1. ผ้าบังสุกุล
  2. ผ้าอาบน้ำฝน
  3. ผ้าจำนำพรรษา
  4. ผ้ากฐิน

การทำสามีจิกรรม มีความหมายว่าอย่างไร ?

  1. การขอขมาโทษต่อกัน
  2. การว่ากล่าวตักเตือนกัน
  3. การถือนิสัยกับอาจารย์
  4. การแสดงความบริสุทธิ์

วันมหาปวารณา มีความหมายว่าอย่างไร ?

  1. การขอขมาโทษต่อกัน
  2. การว่ากล่าวตักเตือนกัน
  3. การถือนิสัยกับอาจารย์
  4. การแสดงความบริสุทธิ์