ปัญหาและเฉลยวิชาเบญจศีลเบญจธรรม (วินัย)  ธรรมศึกษาชั้นตรี พ.ศ. ๒๕๕๕

เครื่องป้องกันความชั่วทางกายวาจา คือข้อใด ?

  1. ศีล
  2. สมาธิ
  3. ปัญญา
  4. ภาวนา

ผู้ปรารถนาจะอบรมจิตให้ตั้งมั่น ควรทำสิ่งใดก่อน ?

  1. ฝึกสมาธิ
  2. รักษาศีล
  3. สวดมนต์
  4. ฟังเทศน์

ศีล ๕ เป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้มนุษย์มีความสะอาดในด้านใด ?

  1. กายกับใจ
  2. วาจากับใจ
  3. กายวาจาใจ
  4. กายกับวาจา

การรักษาศีลข้อที่ ๑ มีประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร ?

  1. ไม่ทำร้ายกัน
  2. ไม่เล่นการพนัน
  3. ไม่คบชู้
  4. ไม่เสพสิ่งเสพติด

การรักษาศีลข้อที่ ๑ ป้องกันเรื่องใด ?

  1. ความโหดร้าย
  2. ความมักมาก
  3. ความใจง่าย
  4. ความงมงาย

สัตว์ที่ห้ามฆ่าในศีลข้อที่ ๑ ตรงกับข้อใด ?

  1. มนุษย์
  2. สัตว์เดรัจฉาน
  3. สัตว์ในครรภ์
  4. ถูกทุกข้อ

ข้อใด จัดเป็นปาณาติบาต ?

  1. ฆ่าสัตว์นรก
  2. ฆ่าเปรต
  3. ฆ่าอสูรกาย
  4. ฆ่าสัตว์

อะไร เป็นวัตถุแห่งปาณาติบาต ?

  1. ปลา
  2. ต้นไม้
  3. ทรัพย์สิน
  4. สุรา

เจตนาที่ให้สำเร็จปาณาติบาต ตรงกับข้อใด ?

  1. จงใจฆ่า
  2. จงใจขโมย
  3. จงใจพูดเท็จ
  4. จงใจดื่มสุรา

ข้อใด เกี่ยวข้องกับศีลข้อที่ ๑ ?

  1. กักขัง
  2. สมโจร
  3. ผลาญ
  4. ส่อเสียด

จงใจขับรถชนผู้อื่นถึงขาขาด เป็นอนุโลมปาณาติบาตข้อใด ?

  1. ทำให้พิการ
  2. ทำให้เสียโฉม
  3. เล่นสนุก
  4. ทำให้บาดเจ็บ

ใช้การ ได้แก่การกระทำในข้อใด ?

  1. ไม่ให้หยุดพักผ่อน
  2. เลี้ยงไว้ในกรง
  3. ล่ามโซ่ไม่ให้หนี
  4. เลี้ยงไว้กัดกัน

ข้อใด ไม่นับเข้าในวัตถุแห่งอทินนาทาน ?

  1. ของมีกรรมสิทธิ์
  2. ของมีลิขสิทธิ์
  3. ของมีเจ้าของ
  4. ของที่สละทิ้ง

อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ทรัพย์เช่นใด ?

  1. รถยนต์
  2. โฉนดที่ดิน
  3. เงินทอง
  4. ที่ดิน

การกระทำใด จัดเป็นอทินนาทานเพราะทรัพย์สินของตนเอง ?

  1. บุกรุกป่าชายเลน
  2. บุกรุกป่าสงวน
  3. ลักขุดทรายในแม่น้ำ
  4. หลบเลี่ยงภาษี

ยืมเงินคนอื่นแล้วไม่ใช้คืน จัดเข้าในโจรกรรมข้อใด ?

  1. สับเปลี่ยน
  2. ยักยอก
  3. ตระบัด
  4. กรรโชก

ข้อใด เป็นโจรกรรมข้อว่า ฉก ?

  1. วิ่งราว
  2. กรรโชก
  3. ยักยอก
  4. สับเปลี่ยน

พูดโกหกเพื่อเอาของของเขา ตรงกับข้อใด ?

  1. ลับ
  2. ลวง
  3. พราง
  4. หลอก

ลักของที่เคลื่อนที่ได้ ศีลขาดตอนไหน ?

  1. เจ้าของปลงใจ
  2. เจ้าของทอดธุระ
  3. ของเคลื่อนจากที่ตั้ง
  4. ของชำรุดเสียหาย

การรับซื้อของโจร มีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร ?

  1. หย่าร้าง
  2. แตกแยก
  3. โจรชุกชุม
  4. ทะเลาะวิวาท

การทุบทำลายทรัพย์สินคนอื่นให้เสียหาย ตรงกับข้อใด ?

  1. หยิบฉวย
  2. ผลาญ
  3. กรรโชก
  4. ตระบัด

พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติศีลข้อ ๓ เพื่อประโยชน์ใด ?

  1. ให้มีเมตตาต่อผู้อื่น
  2. ให้ยินดีในคู่ครองตน
  3. ให้ช่วยเหลือผู้อื่น
  4. ให้ยินดีในสมบัติตน

สามีภรรยาที่มีความรักความซื่อตรงต่อกัน เพราะมีศีลข้อใด ?

  1. ปาณาติปาตา เวรมณี
  2. อทินนาทานา เวรมณี
  3. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี
  4. มุสาวาทา เวรมณี

ล่วงประเวณี ในศีลข้อที่ ๓ ตรงกับข้อใด ?

  1. ทำชื่อเสียงให้เสียหาย
  2. ทำทรัพย์สินให้เสียหาย
  3. ทำเชื้อสายให้เสียหาย
  4. ทำการงานให้เสียหาย

หญิงชายที่ห้ามไว้ในศีลข้อที่ ๓ มีกี่จำพวก ?

  1. ๑๐ จำพวก
  2. ๒๐ จำพวก
  3. ๓๐ จำพวก
  4. ๔๐ จำพวก

หญิงที่อยู่ในความพิทักษ์รักษาของบิดามารดา ตรงกับข้อใด ?

  1. ลูกสาว
  2. ลูกสะใภ้
  3. หลานสาว
  4. หลานสะใภ้

ปัญหาสังคมข้อใด เกิดเพราะละเมิดศีลข้อที่ ๓ ?

  1. หย่าร้าง
  2. อาชญากรรม
  3. ลักขโมย
  4. ทำร้ายร่างกาย

พูดอย่างไร เรียกว่า มุสา ?

  1. พูดให้เข้าใจผิด
  2. พูดให้ทะเลาะกัน
  3. พูดให้แตกแยก
  4. พูดให้เจ็บใจ

การแสดงความเท็จเกิดขึ้นได้ทางใด ?

  1. วาจาและใจ
  2. กายและวาจา
  3. กายและใจ
  4. กายวาจาและใจ

นำเอกสารที่เป็นเท็จมาแสดงในที่ประชุม เป็นมุสาเกิดทางใด ?

  1. กาย
  2. วาจา
  3. ใจ
  4. วาจา ใจ

โทษของมุสา ตรงกับข้อใด ?

  1. ขาดคนเชื่อถือ
  2. ขาดคนเมตตา
  3. ขาดคนสงสาร
  4. ขาดคนเห็นใจ

การอวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่เป็นจริง ตรงกับข้อใด ?

  1. ทนสาบาน
  2. ทำเล่ห์กระเท่ห์
  3. ทำเลศ
  4. เสริมความ

ไม่เจ็บป่วย ทำท่าทางให้เขาเห็นว่าเจ็บป่วย ตรงกับข้อใด ?

  1. ทนสาบาน
  2. ทำเล่ห์กระเท่ห์
  3. มารยา
  4. อำความ

การดื่มสุราเป็นเหตุให้เกิดโทษแก่ตนและคนอื่น ตรงกับข้อใด ?

  1. ประพฤติน่าอดสู
  2. ทอนกำลังปัญญา
  3. ก่อการวิวาท
  4. เสียสุขภาพ

นโยบายปราบปรามยาเสพติด สนับสนุนศีลข้อใด ?

  1. ศีลข้อที่ ๑
  2. ศีลข้อที่ ๓
  3. ศีลข้อที่ ๔
  4. ศีลข้อที่ ๕

ข้อใด เป็นกฎหมายเกี่ยวข้องกับศีลข้อที่ ๕ ?

  1. ห้ามฆ่าสัตว์ในวัด
  2. ห้ามดื่มสุราในวัด
  3. ห้ามขายอาวุธในวัด
  4. ห้ามเล่นการพนันในวัด

ข้อใด ได้ชื่อว่าประพฤติตนอยู่ในศีลข้อที่ ๕ ?

  1. ไม่ฆ่าสัตว์
  2. ไม่ลักทรัพย์
  3. ไม่เจ้าชู้
  4. ไม่ดื่มสุรา

กิริยาที่งดเว้นจากการล่วงละเมิดข้อห้ามในศีล ๕ เรียกว่าอะไร ?

  1. สมบัติ
  2. วิรัติ
  3. เจตนา
  4. กัลยาณธรรม

การจะรักษาศีล ๕ ให้มั่นคงต้องมีอะไรสนับสนุน ?

  1. วิรัติ
  2. เจตนา
  3. กัลยาณธรรม
  4. กัลยาณศีล

การรักษาศีลของพระภิกษุและสามเณร จัดเป็นวิรัติใด ?

  1. สมาทานวิรัติ
  2. สัมปัตตวิรัติ
  3. สมุจเฉทวิรัติ
  4. ถูกทุกข้อ

การงดเว้นที่เรียกว่าสมุจเฉทวิรัติ มีลักษณะเช่นไร ?

  1. งดเว้นเฉพาะหน้า
  2. งดเว้นชั่วคราว
  3. งดเว้นเฉพาะข้อ
  4. งดเว้นเด็ดขาด

กัลยาณธรรมข้อใด สนับสนุนให้คนมีอาชีพสุจริต ?

  1. เมตตา
  2. กรุณา
  3. สัมมาอาชีวะ
  4. กามสังวร

คนพูดมุสาทำให้ขาดกัลยาณธรรมใด ?

  1. เมตตา
  2. กรุณา
  3. ความมีสัจจะ
  4. ความมีสติ

คนขาดกัลยาณธรรมใด ไม่สามารถรักษาศีลข้อ ๑ ให้บริบูรณ์ได้ ?

  1. เมตตา
  2. ความมีสัจจะ
  3. กามสังวร
  4. ความมีสติ

คุณธรรมเช่นไร เรียกว่า กรุณา ?

  1. ปรารถนาให้เขาเป็นสุข
  2. ปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์
  3. ปรารถนาให้เขาได้ดี
  4. ปรารถนาให้เขารุ่งเรือง

พ่อแม่ปรารถนาให้ลูกได้ดี เพราะมีกัลยาณธรรมใด ?

  1. เมตตา
  2. กรุณา
  3. มุทิตา
  4. อุเบกขา

การกระทำใด เรียกว่า ประพฤติเป็นธรรมในกิจการ ?

  1. ซื่อตรงต่อลูกค้า
  2. ซื่อตรงต่อสินค้า
  3. ซื่อตรงต่อเวลา
  4. ซื่อตรงต่อเจ้านาย

กัลยาณธรรมข้อ ๓ ทำให้คนประพฤติเช่นไร ?

  1. สำรวมในกาม
  2. ให้มีสติ
  3. มีอาชีพสุจริต
  4. มีความซื่อสัตย์

บุคคลประพฤติเช่นไร เรียกว่า มีสัจจะ ?

  1. ทำดี
  2. พูดดี
  3. คิดดี
  4. ปรารถนาดี

บุคคลจะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ต้องปฏิบัติอย่างไร ?

  1. มีศีลธรรม
  2. มีความเสียสละ
  3. มีความเอื้อเฟื้อ
  4. มีความมัธยัตถ์