ปัญหาและเฉลยวิชาเบญจศีลเบญจธรรม  ธรรมศึกษาชั้นตรี พ.ศ. 2543

1. ข้อใดเป็นประโยชน์สูงสุด ในการศึกษาเบญจศีล-เบญจธรรม ?

  • เพื่อให้รอบรู้วิทยาการแขนงต่าง ๆ
  • เพื่อส่งเสริมสติปัญญา ให้เฉลียวฉลาด
  • เพื่อแก้ไขกรณีพิพาท ทางศาสนาที่เกิดขึ้นในสังคม
  • เพื่อรู้หลักธรรม และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต

2. ข้อใดไม่ใช่ความหมายที่โยงใยกับคำว่า “ ศีล ” ?

  • อาบัติ
  • วินัย
  • วิรัติ
  • ปกติ หรือ เย็น

3. ศีลแต่ละข้อ มีส่วนประกอบเป็นเครื่องตัดสินว่า ผิด หรือ ไม่ผิด ส่วนประกอบแต่ละข้อ เรียกว่าอะไร ?

  • สิกขาบท
  • วิรัติ
  • ข้อ
  • องค์

4. ข้อใด กล่าวถูกต้อง ?

  • วิรัติ คือเจตนางดเว้นจากความชั่ว
  • กัลยาณธรรม คือ การละเว้นข้อห้าม
  • เบญจศีล มีวิรัติเป็นธรรมคู่กัน
  • ผู้มีศีล 5 ได้ชื่อว่ามีกัลยาณธรรม

5. ข้อปฏิบัติที่เรียกว่า “ สิกขาบท ” หมายถึงอะไร ?

  • องค์ประกอบของศีล
  • ข้อยกเว้นของศีล
  • ศีลข้อหนึ่ง ๆ
  • เครื่องอุดหนุนให้ศีลผ่องใส

6. ศีล 5 และธรรม 5 มีความสำคัญอย่างไร ?

  • ช่วยสงวนพันธุ์สัตว์
  • ช่วยลดคดีหมิ่นประมาท
  • ทำให้การเบียดเบียนกันลดลง
  • ทำให้เศรษฐกิจมีความมั่นคงขึ้น

7. โจรกรรมโดยใช้กุญแจผีเปิดประตูบ้าน และนำของมีค่าไป จัดเป็น…?

  • ขโมย
  • ตัดช่อง
  • ลักลอบ
  • ปลอม

8. ความแตกร้าวในหมู่มนุษย์ ความไม่ไว้วางใจกัน ป้องกันได้ด้วยศีลข้อใด ?

  • กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี
  • มุสาวาทา เวรมณี
  • ปาณาติปาตา เวรมณี
  • อทินนาทานา เวรมณี

9. คำว่า “ สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา ” กล่าวถึงอะไร ?

  • อาราธนาศีล
  • อานิสงส์ศีล
  • สมาทานศีล
  • นิจศีล

10. เบญจศีล กับกัลยาณธรรม ข้อใดไม่มีความสัมพันธ์ต่อกัน ?

  • ไม่ดื่มน้ำเมา – มีสติรอบคอบ
  • ไม่แย่งชิงของรัก – เมตตากรุณา
  • ไม่พูดเท็จ – ความสัตย์
  • ไม่ลักทรัพย์ – มีอาชีพสุจริต

11. เท็จจริงเพียงไรกับข้อที่ว่า ทรัพย์ที่ได้มาด้วยโจรกรรม ไม่นำความสุขมาให้ ?

  • เห็นด้วย เพราะสักวันหนึ่งกรรมจะตามทัน
  • เห็นด้วย เพราะสุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี
  • ไม่เห็นด้วย เพราะคนทุจริตร่ำรวย และอยู่เป็นสุข
  • ไม่เห็นด้วย เพราะไม่มีเงิน ก็ไม่มีความสุข

12. โจรปล้นแล้วฆ่าเจ้าของทรัพย์ตายโดยจงใจ ตกอยู่ในฐานอะไร ?

  • ฐานแห่งโลภะ
  • ฐานแห่งโทสะ
  • ฐานแห่งโมหะ
  • ฐานแห่งพยาบาท

13. ยืมหนังสือห้องสมุดไปแล้ว ไม่ส่งคืน เก็บเอาไว้เป็นของตน จัดเป็นโจรกรรมประเภทไหน ?

  • กรรโชก
  • ฉก
  • ปล้น
  • ตระบัด

14. การชนวัว ตีไก่ เป็นลักษณะของการทรมานแบบใด ?

  • การใช้งาน
  • การเล่นสนุก
  • การผจญสัตว์
  • การเล่นกีฬา

15. ในศีลข้อที่ 3 ข้อใดไม่ใช่หญิงที่จารีตห้าม ?

  • ลูกหลานตนเอง
  • แม่ชี
  • ภิกษุณี สามเณรี
  • หญิงที่เป็นใหญ่ด้วยตนเอง

16. เพราะเหตุไรศีลข้อที่ 3 จึงจัดให้อยู่ในกลุ่มเบญจศีลด้วย ?

  • เพราะมนุษย์มีราคะ
  • เพราะมนุษย์มีโทสะ
  • เพราะมนุษย์มีโมหะ
  • เพราะมนุษย์ต้องอยู่เป็นคู่

17. ประเทศไทยเป็นเมืองพระพุทธศาสนา เหตุไฉนข่าวการละเมิดศีลข้อที่ 3 จึงมีอยู่มาก ?

  • มีการเรียนรู้ แต่ไม่นำมาปฏิบัติ
  • กระแสวัตถุนิยมรุนแรง
  • ไม่มีการยกย่องคนดีให้ปรากฏ
  • ถูกทุกข้อ

18. อาการแห่งมุสาวาท ได้แก่ ?

  • มุสาทางกาย
  • มุสาทางวาจา
  • มุสาทางกาย วาจา
  • มุสาทางกาย วาจา ใจ

19. ผู้ใดแสดงอาการมุสา ประเภททำเลศ ?

  • นาย ก. ยุให้เขาแตกกัน
  • นาย ข. อวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่จริง
  • นาย ค. พูดโกหกเกินความจริง
  • นาย ง. พูดโกหกเล่นสำนวนต่าง ๆ

20. การวิวาทกัน บันดาลโทสะแล้วฆ่ากันตาย เป็นการผิดศีลโดยอาการอย่างไร ?

  • โดยเจตนา
  • โดยไม่เจตนา
  • โดยไตร่ตรองไว้ก่อน
  • โดยฐานพยาบาท

21. ข้อใด หมายถึง ปฏิสสวะ…?

  • ผิดสัญญา เสียสัตย์ คืนคำ
  • ผิดสัญญา พลั้งเผลอ
  • เสียสัตย์ คืนคำ สำคัญผิด
  • ถูกทุกข้อ

22. พระสงฆ์เทศน์เกี่ยวกับสัตว์พูดได้ ถือว่าขาดศีลข้อที่ 4 หรือไม่ ?

  • ขาดศีล เพราะสัตว์พูดไม่ได้
  • ไม่ขาดศีล เพราะใคร ๆ ก็รู้ว่าสัตว์พูดไม่ได้
  • ไม่ขาดศีล เพราะเป็นโวหารของผู้เทศน์
  • ไม่ขาดศีล เพราะเป็นนิทานชาดกในคัมภีร์

23. ข้อใด ไม่จัดเป็นองค์ประกอบของศีลข้อที่ 4 ?

  • ตั้งใจพูดให้ผิด
  • พยายามพูดให้เท็จ
  • ข้อความที่ไม่เป็นเท็จ
  • มีผู้ฟังเข้าใจตามที่พูด

24. พุทธภาษิตว่า “ คนพูดไม่จริง ย่อมตกนรก ” หมายความว่า…?

  • พูดดี เป็นศรีแก่ปาก
  • ปากเป็นเอก เลขเป็นโท
  • ปลาหมอ ตายเพราะปาก
  • ผิดทุกข้อ

25. นิทานอีสป เรื่องเด็กเลี้ยงแกะ เป็นอาการของผู้ทำผิดในลักษณะใด ?

  • มุสา
  • เสริมความ
  • สัปปลับ
  • อำความ

26. นักเขียนบางคนต้องดื่มสุรา จึงเขียนผลงานได้ดี ไม่ขัดกับศีลข้อที่ 5 หรือ ?

  • ขัดกัน แต่อนุโลมเป็นข้อยกเว้นได้
  • ไม่ขัดกัน เพราะระดับความเมาของคนต่างกัน
  • ไม่ขัดกัน เพราะมีการพักบางขณะ
  • ขัดกัน เพราะไม่มีข้อยกเว้น

27. ข้อใด ไม่จัดเป็นโทษของน้ำเมา ?

  • เกิดโรคมาลาเรีย
  • ก่อเหตุทะเลาะวิวาท
  • เสียทรัพย์สมบัติ
  • พ่อแม่ พลอยเสียชื่อเสียงด้วย

28. สิ่งที่เรียกว่า “ เมรัย ” มีลักษณะอย่างไร ?

  • น้ำเมาที่กลั่นเพื่อให้เข้มข้น
  • น้ำเมาที่เกิดจากการหมัก หรือดอง
  • ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน
  • ถูกทุกข้อ

29. ในศีลทั้ง 5 ข้อ ข้อใดที่ล่วงแล้วสามารถทำผิดข้ออื่นได้อีก ?

  • ข้อที่ 5
  • ข้อที่ 4
  • ข้อที่ 3
  • ข้อที่ 2

30. การสูบฝิ่น สูบกัญชา เสพยาบ้า ยาอี จัดว่าผิดศีลข้อ 5 หรือไม่ ?

  • ไม่ผิดศีล เพราะการค้าขายทำให้เศรษฐกิจขยายตัว
  • ไม่ผิดศีล เพราะไม่มีข้อห้ามในพุทธบัญญัติ
  • ผิดศีล เพราะจัดเป็นเมรัย
  • ผิดศีล เพราะจัดเป็นยาเสพติดให้โทษ

31. ข้อใด มิใช่เป็นเหตุแห่งการบัญญัติศีลข้อที่ 5

  • เพื่อป้องกันมิให้ละเมิดศีลข้อที่ 1 – 4
  • เพื่อให้มีสติสัมปชัญญะครบถ้วน ในแต่ละวัน
  • เพื่อป้องกันการทะเลาะวิวาท
  • เพื่อให้มีบุคลิกภาพดี เหมาะสมกับการดำรงตำแหน่งสำคัญ

32. สุกรนอนอยู่ในเล้า ไม่ละเมิดศีลทั้ง 5 ข้อ ถือว่าสุกรมีศีล หรือไม่ ?

  • ไม่มีศีล เพราะเป็นธรรมชาติของสัตว์
  • ไม่มีศีล เพราะไม่มีวิรัติคือเจตนางดเว้น
  • ไม่มีศีล เพราะสัตว์รับศีลไม่ได้
  • มีศีล เพราะสัตว์รักษาศีลได้

33. คำเมื่อเราไปร่วมงานเลี้ยง เราปฏิเสธสุราที่เขานำมาให้ จัดเป็นวิรัติข้อใด ?

  • สมุจเฉทวิรัติ
  • สัมปัตตวิรัติ
  • สมาทานวิรัติ
  • เจตนาวิรัติ

34. พระอรหันต์ท่านมีศีลบริบูรณ์ เพราะมีวิรัติข้อใด ?

  • สมุจเฉทวิรัติ
  • สัมปัตตวิรัติ
  • สมาทานวิรัติ
  • เจตนาวิรัติ

35. กัลยาณชนมีศีลอย่างเดียวไม่เพียงพอหรือ เหตุใดต้องมีกัลยาณธรรมด้วย ?

  • เพื่อปฏิบัติคุณพิเศษให้ยิ่งขึ้นไปกว่าศีล
  • เพื่อระมัดระวังความชั่วต่าง ๆ
  • เพื่อป้องกันความชั่วรุกราน
  • ถูกทุกข้อ

36. ข้อใด ไม่ใช่อาการของสติสัมปชัญญะ ?

  • ความรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
  • ความไม่เลินเล่อในการทำงาน
  • ความประพฤติธรรมในกิจอันเป็นหน้าที่
  • ความรู้จักประมาณในการสร้างตน

37. ข้อใด กล่าวได้ถูกต้อง ?

  • เมตตากำจัดวิหิงสา
  • กรุณากำจัดพยาบาท
  • เมตตากำจัดพยาบาท
  • กรุณากำจัดวิหิงสา

38. นักเรียนพบแมวถูกรถชน ได้เข้าช่วยเหลือพยาบาล จัดเป็นผู้มี…?

  • เมตตา
  • กรุณา
  • มุทิตา
  • อุเบกขา

39. ขณะนี้ มีผู้ผลิตสินค้าบางรายปลอมแปลงสินค้า แสดงว่า…?

  • ไม่ประพฤติเป็นธรรมในกิจการ
  • ไม่ประพฤติเป็นธรรมในบุคคล
  • ไม่ประพฤติเป็นธรรมในวัตถุ
  • ไม่ประพฤติเป็นธรรมในอาชีพ

40. ข้อใด กล่าวไม่ถูกต้อง ?

  • สทารสันโดษ ยินดีพอใจในภรรยาของตน
  • ปติวัตร ถือสามีเสมือนบิดา
  • ชายหญิงมักมากในกาม ไม่มีสง่าราศรี ไม่พ้นข้อครหา
  • ความสำรวมในกาม เป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตคู่

41. ข้อใด ไม่ได้หมายถึงเบญจธรรม ข้อที่ 4 ?

  • ความกตัญญู
  • ความซื่อตรง
  • ความเที่ยงธรรม
  • ความรับผิดชอบ

42. ผู้พิพากษา จัดว่ามีความสัตย์ประเภทไหน ?

  • ความกตัญญู
  • ความซื่อตรง
  • ความเที่ยงธรรม
  • ความรับผิดชอบ

43. ความไม่เลินเล่อในการงาน เป็นอาการของเบญจธรรมข้อใด ?

  • ความมีสัตย์
  • เมตตา – กรุณา
  • สัมมาอาชีวะ
  • ความมีสติรอบคอบ

44. ข้อใด ไม่ใช่ความหมายของคำว่า “ อุโบสถ ” ?

  • เป็นชื่อของวันจำศีล
  • วันพระ
  • เป็นชื่อของศีลที่รักษาในวันจำศีล
  • โรงอุโบสถสำหรับพระสวดปาฏิโมกข์

45. คฤหัสถ์เมื่อต้องการบำเพ็ญกุศลให้เป็นส่วนพิเศษ พึงรักษา…?

  • ศีล 5
  • ศีล 10
  • ศีล 227
  • อุโบสถศีล

46. ข้อใด ไม่จัดอยู่ในอุโบสถศีล ?

  • ไม่จับเงินทอง
  • ไม่ลักของผู้อื่น
  • ไม่ฟ้อนรำขับร้อง
  • ไม่พูดปด

47. ผู้รักษาอุโบสถศีล บางคน พูดนินทาคนโน้น คนนี้ จัดเป็นผู้ถืออุโบสถศีลประเภทไหน ?

  • โคปาลอุโบสถ
  • นิคคัณฐอุโบสถ
  • อริยอุโบสถ
  • นินทาอุโบสถ

48. คำว่า “ อุโบสถ ” แปลว่าอะไร ?

  • การเข้าจำ
  • การละเว้น
  • การรักษา
  • การเข้มงวด

49. อุโบสถศีล ที่รักษาเฉพาะวันหนึ่งคืนหนึ่ง เรียกว่าอะไร ?

  • ปกติอุโบสถ
  • โคปาลอุโบสถ
  • ปฏิชาครอุโบสถ
  • ปาฏิหาริกอุโบสถ

50. การรักษาศีลด้วยการระลึกถึงพระรัตนตรัย ฟังธรรม และสนทนาธรรม เป็นอุโบสถ ชนิดใด ?

  • นิคคัณฐอุโบสถ
  • ปกติอุโบสถ
  • โคปาลอุโบสถ
  • อริยอุโบสถ