ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม  ธรรมศึกษาชั้นตรี พ.ศ. 2543

1. บุคคลทำอะไรมักผิดพลาด เพราะขาดธรรมข้อใด ?

  • หิริ – โอตตัปปะ
  • สติปัฏฐาน
  • สติ – สัมปชัญญะ
  • อริยสัจ

2. คนดี ท่านว่ามีอะไรเป็นเครื่องหมาย ?

  • ศีล
  • กตัญญูกตเวที
  • สมาธิ
  • บุญกิริยาวัตถุ

3. ผู้ปฏิบัติชอบตามพระวินัย แล้วสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติตามคือ… ?

  • พุทธบริษัท
  • พระอรหันต์
  • อุบาสก – อุบาสิกา
  • พระสงฆ์

4. ในทุจริต 3 ข้อใด เป็นข้อเสียหายร้ายแรงที่สุด ?

  • กายทุจริต
  • วจีทุจริต
  • มโนทุจริต
  • ถูกทุกข้อ

5. ธรรมอะไร ควบคุมชาวโลกให้อยู่เย็นเป็นสุข ?

  • ขันติ – โสรัจจะ
  • หิริ – โอตตัปปะ
  • สติ – สัมปชัญญะ
  • กตัญญูกตเวที

6. ความเสมอกันแห่งสังขารทั้งปวง เรียกว่าอะไร ?

  • อนิจจตา
  • ทุกขตา
  • อนัตตตา
  • สามัญญลักษณะ

7. บุญกิริยาวัตถุข้อใด สามารถกำจัดกิเลสคือความตระหนี่ได้ ?

  • ทานมัย
  • สีลมัย
  • ภาวนามัย
  • ถูกทุกข้อ

8. การที่ผู้น้อย ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ตามฐานะของตน จัดเข้าในหลักธรรมข้อใด ?

  • ปุพเพกตปุญญตา
  • อัตตสัมมาปณิธิ
  • สัปปุริสูปัสสยะ
  • ปฏิรูปเทสวาสะ

9. หมวดธรรมข้อใด เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ทำให้เสียความยุติธรรมได้ ?

  • อกุศล 3
  • อคติ 4
  • พละ 5
  • สาราณียธรรม 6

10. นักเรียนที่เข้าสอบธรรมศึกษา มีทั้งสอบได้ และสอบตก เพราะมีหรือขาดธรรมหมวดใด ?

  • ปธาน 4
  • วุฒิ 4
  • อิทธิบาท 4
  • พรหมวิหาร 4

11. คำว่า “อธิษฐานธรรม” แปลว่าอะไร ?

  • ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ
  • ธรรมที่อธิษฐานให้สำเร็จตามประสงค์
  • ธรรมที่ปฏิบัติแล้วไม่ผิด
  • ธรรมที่ทำให้สำเร็จตามความประสงค์

12. การสร้างความดี ให้เกิดขึ้นเรียกว่า… ?

  • สังวรปธาน
  • ปหานปธาน
  • ภาวนาปธาน
  • อนุรักขนาปธาน

13. ความอาฆาตพยาบาท เป็นบาปอกุศล ท่านจะแก้บาปอกุศลนี้ด้วยธรรมอะไร ?

  • เมตตา
  • กรุณา
  • มุทิตา
  • อุเบกขา

14. เห็นคนเป็นลม รีบช่วยพยาบาล เช่นนี้ ชื่อว่าได้บำเพ็ญพรหมวิหารข้อใด ?

  • เมตตา
  • กรุณา
  • มุทิตา
  • อุเบกขา

15. วุฒิธรรมข้อโยนิโสมนสิการ หมายถึง… ?

  • รอบรู้ทุกเรื่อง
  • เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ
  • ศึกษามากรู้ปัญหามาก
  • ตริตรองให้รู้สิ่งดีสิ่งชั่ว

16. ข้อใดไม่ชื่อว่า ปัพพัชชา ?

  • อหิงสา
  • สัญญมะ
  • ทมะ
  • ขันติ

17. การสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้าย เมื่อเห็นรูปเป็นต้น เรียกว่า   อะไร ?

  • อินทรียสังวร
  • ปาฏิโมกขสังวร
  • โภชเนมัตตัญญุตา
  • ชาคริยานุโยค

18. กรรมอะไร ที่ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน ?

  • อกุศลกรรม
  • นิวรณธรรม
  • อนันตริยกรรม
  • อาสันนกรรม

19. บุคคลบางคน มีความกลัว กลายเป็นคนขี้ขลาด ต้องแก้ด้วย… ?

  • พละ 5
  • เวสารัชชกรณธรรม 5
  • ขันธ์ 5
  • นิวรณ์ 5

20. ในอริยสัจ 4  ข้อใดควรกำหนดรู้ ?

  • ทุกข์
  • สมุทัย
  • นิโรธ
  • มรรค

21. ธรรมที่กั้นจิต มิให้บรรลุความดี เรียกว่าอะไร ?

  • กรรมกิเลส
  • อกุศลมูล
  • มลทิน
  • นิวรณ์

22. กายกับใจ แบ่งออกเป็นกอง เรียกว่าอะไร ?

  • สังขาร
  • วิญญาณ
  • ขันธ์
  • สัญญา

23. ความรู้สึกในอารมณ์ว่า เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ เรียกว่าอะไร

  • สัญญา
  • เวทนา
  • สังขาร
  • วิญญาณ

24. ความอยากเช่นไร จัดเป็นวิภวตัณหา ?

  • อยากร่ำรวย
  • อยากได้เงินเดือนสูง
  • อยากเป็นนายก
  • อยากพ้นจากหน้าที่

25. ความเคารพในมารดาบิดา ครูอาจารย์ จัดเข้าในคารวะข้อใด ?

  • ในพระพุทธเจ้า
  • ในพระธรรม
  • ในปฏิสันถาร
  • ในการศึกษา

26. เมื่ออยู่ให้เขารัก จากไปให้เขาคิดถึง เช่นนี้ควรประกอบตนไว้ในธรรมหมวดไหน ?

  • พรหมวิหาร
  • สังคหวัตถุ
  • สาราณียธรรม
  • สัปปุริสธรรม

27. ผงเข้าตาเกิดความรู้ขึ้น เรียกว่าอะไร กระทบอะไร ?

  • รูป กระทบตา
  • เสียง กระทบหู
  • โผฏฐัพพะ กระทบกาย
  • รูป กระทบกาย

28. อายตนะภายใน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ?

  • อารมณ์
  • อินทรีย์
  • วิญญาณ
  • สัมผัส

29. อายตนะภายนอก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร ?

  • อารมณ์
  • อินทรีย์
  • วิญญาณ
  • สัมผัส

30. จิตมีความรักสวยรักงาม ควรเจริญกัมมัฏฐานอะไร ?

  • อสุภกัมมัฏฐาน
  • เมตตา
  • พุทธานุสสติ
  • มรณสติ

31. เรารับประทานอาหาร รู้รสชาติว่าอร่อย ลักษณะเช่นนี้ เรียกว่าอะไร ?

  • ชิวหาวิญญาณ
  • ชิวหาสัมผัส
  • ฆานวิญญาณ
  • ฆานสัมผัส

32. คุณความดี ที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ เรียกว่าอะไร ?

  • กุศลกรรมบถ
  • กุศลมูล
  • อริยทรัพย์
  • อริยสัจ

33. คำว่า “ สัตบุรุษ ”  หมายถึงข้อใด ?

  • ผู้ประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ
  • พุทธบริษัท
  • คฤหัสถ์ ผู้ถึงพระรัตนตรัย
  • บรรพชิต

34. คำว่า “ อัตตัญญุตา ”  หมายความถึงข้อใด ?

  • ความเป็นผู้รู้จักตน
  • ความเป็นผู้รู้จักผล
  • ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
  • ความเป็นผู้รู้จักประมาณ

35. เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม ตรงกับข้อธรรมใด

  • ธัมมัญญุตา
  • อัตตัญญุตา
  • ปริสัญญุตา
  • มัตตัญญุตา

36. คุณธรรมของสัตบุรุษ มีกี่อย่าง ?

  • 5 อย่าง
  • 6 อย่าง
  • 7 อย่าง
  • 8 อย่าง

37. โพชฌงค์ข้อใด มีความสำคัญมากที่สุด ?

  • สติ
  • ธัมมวิจยะ
  • ปัสสัทธิ
  • สมาธิ

38. เมื่อท่านถูกนินทา หรือสรรเสริญ ชื่อว่าประสบธรรมข้อใด ?

  • สติปัฏฐาน
  • โลกธรรม
  • อริยสัจ
  • สัปปุริสธรรม

39. ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลก และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น ฝ่ายที่น่ายินดี เรียกว่าอะไร ?

  • อภิรมย์
  • อิฏฐารมณ์
  • อนิฏฐารมณ์
  • กุศล

40. เศรษฐกิจพอเพียง ตรงกับธรรมข้อใดมากที่สุด ?

  • โยนิโสมนสิการ
  • สันโดษ
  • โภชเนมัตตัญญุตา
  • อริยทรัพย์

41. บรรดามรรค 8  สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สงเคราะห์เข้าในไตรสิกขาข้อใด ?

  • ปัญญาสิกขา
  • สีลสิกขา
  • จิตตสิกขา
  • ข้อ ก. และ ข. ถูกที่สุด

42. ทำอย่างไร จึงจะตั้งตัวได้ ในปัจจุบันนี้ ?

  • เว้นจากอบายมุข
  • บำเพ็ญสังคหวัตถุ
  • คบกัลยาณมิตร
  • บำเพ็ญทิฏฐธัมมิกัตถะ

43. อบายมุข เครื่องฉิบหาย 4 อย่าง ข้อใดร้ายแรงที่สุด ?

  • ความเป็นนักเลงหญิง
  • ความเป็นนักเลงสุรา
  • ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน
  • ความคบคนชั่วเป็นมิตร

44. สิ่งเสพติด มียาบ้าเป็นต้น จัดเข้าในอบายมุขข้อไหน ?

  • ความเป็นนักเลงหญิง
  • ความเป็นนักเลงสุรา
  • ความเป็นนักเลงเล่นการพนัน
  • ความคบคนชั่วเป็นมิตร

45. คำว่า “ห่างสุนัขให้ห่างศอก ห่างวอกให้ห่างวา ห่างพาลาให้ห่างหมื่นโยชน์แสนโยชน์ ”  เป็นคำสอนตรงกับข้อใด ?

  • การคบคน
  • วิธีป้องกันอันตรายจากสัตว์
  • วิธีเลี้ยงสัตว์
  • ถูกทุกข้อ

46. ฆราวาส ควรมีธรรมข้อใดเป็นหลักใจ ?

  • สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ
  • เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
  • ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
  • ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา

47. โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ชุมชน วางตนเหมาะสม ตรงกับธรรมข้อใด

  • สัปปุริสธรรม
  • พรหมวิหารธรรม
  • ฆราวาสธรรม
  • สังคหวัตถุธรรม

48. หลักธรรมข้อใด ส่งเสริมให้คนรู้จักหน้าที่ อันจะพึงปฏิบัติต่อกัน ?

  • ทิศ 6
  • พลธรรม 5
  • อิทธิบาท 4
  • ฆราวาสธรรม 4

49. ปุรัตถิมทิศ คือทิศเบื้องหน้า หมายถึงบุคคลในข้อใด ?

  • บิดา มารดา
  • ครู อาจารย์
  • สมณพราหมณ์
  • มิตรสหาย

50. ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ตรงกับพลีกรรมข้อใด ?

  • ญาติพลี
  • อติถิพลี
  • ปุพพเปตพลี
  • เทวตาพลี