ปัญหาและเฉลยวิชากรรมบถ (วินัย) ธรรมศึกษาชั้นเอก พ.ศ. ๒๕๕๒

ข้อใดเป็นความหมายของกรรมบถ

  • กรรมนำสัตว์สู่สุคติทุคติ
  • กรรมนำสัตว์สู่พรหมโลก
  • กรรมนำสัตว์สู่มนุษยภูมิ
  • กรรมนำสัตว์ไปอบายภูมิ

กุศลกรรมนำสัตว์ให้ไปเกิดในกำเนิดที่ดี ตรงกับข้อใด

  • สัตว์นรก
  • เปรต
  • อสุรกาย
  • มนุษย์

อกุศลกรรมบถนำสัตว์ให้ไปเกิดในกำเนิดที่เลว ตรงกับข้อใด

  • พรหม
  • เทวดา
  • เปรต
  • มนุษย์

กรรมบถ 10 ประการ จัดเป็นกรรม 3 อย่าง ยกเว้นข้อใด

  • กายกรรม
  • วจีกรรม
  • มโนกรรม
  • เวรกรรม

ในทางพระพุทธศาสนา ว่าสุขทุกข์ของสัตว์ทั้งหลายเกิดจากอะไร

  • กิเลส
  • กรรม
  • วิบาก
  • ชะตา

อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นเหตุให้บุคคลกระทำกรรมใด

  • บาปกรรม
  • อกุศลกรรม
  • กุศลกรรม
  • อโหสิกรรม

การกระทำของสัตว์ทั้งหลายจะเป็นบุญหรือบาป ขึ้นอยู่กับอะไร

  • เจตนา
  • สัญญา
  • เวทนา
  • อารมณ์

การทำความดีความชั่วของสัตว์ทั้งหลาย เกิดขึ้นได้ทางใด

  • การกระทำ
  • คำพูด
  • ความคิด
  • ถูกทุกข้อ

การกระทำที่ไม่สำเร็จเป็นกรรมบถ เพราะขาดองค์ประกอบใด

  • เวทนา
  • สัญญา
  • เจตนา
  • อารมณ์

กรรมที่เกิดจากการกระทำทางกายเรียกว่าอะไร

  • กายกรรม
  • วจีกรรม
  • มโนกรรม
  • ครุกรรม

ข้อใดไม่นับเข้าในวจีกรรมฝ่ายอกุศล

  • ปิสุณวาจา
  • มุสาวาจา
  • ผรุสวาจา
  • พยาบาท

การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต โดยตรงเกิดขึ้นจากกิเลสใด

  • โลภะ
  • โทสะ
  • โมหะ
  • ทิฏฐิ

ปาณาติบาตเป็นกายกรรม เพราะโดยมากเกิดขึ้นทางทวารใด

  • กายทวาร
  • วจีทวาร
  • มโนทวาร
  • ถูกทุกข้อ

ข้อใดเป็นอารมณ์ให้บุคคลกระทำปาณาติบาตได้

  • ภูเขา
  • ต้นไม้
  • สัตว์
  • ลำธาร

จิตคิดจะฆ่า เป็นองค์แห่งอกุศลกรรมบถข้อใด

  • ปาณาติบาต
  • พยาบาท
  • อทินนาทาน
  • ผรุสวาจา

จิตคิดจะลัก เป็นองค์แห่งอกุศลกรรมบถข้อใด

  • ปาณาติบาต
  • พยาบาท
  • อทินนาทาน
  • ผรุสวาจา

นาย ก สั่งนาย ข ให้ฆ่าคน เป็นปาณาติบาตเกิดขึ้นทางทวารใด

  • กายทวาร
  • วจีทวาร
  • มโนทวาร
  • ทุกทวาร

ปาณาติบาตมีโทษมากเพราะฆ่าสัตว์มีคุณ ตรงกับข้อใด

  • ช้าง
  • บ่าง
  • ค่าง
  • ชะนี

ข้อใดเป็นโทษเกิดจากการกระทำปาณาติบาต

  • ครอบครัวแตกแยก
  • มีโรคภัยเบียดเบียน
  • ทรัพย์สินสูญสลาย
  • มีแต่คนคอยว่าร้าย

ข้อใดเป็นโทษเกิดจากการกระทำอทินนาทาน

  • เงินทองรั่วไหล
  • ถูกใส่ร้ายป้ายสี
  • ไม่มีคนเชื่อถือ
  • มีสติเลอะเลือน

คำว่า อย่ามือไวใจเร็ว หมายถึง ห้ามประพฤติอกุศลกรรมบถใด

  • มิจฉาทิฏฐิ
  • ปาณาติบาต
  • ปิสุณวาจา
  • อทินนาทาน

พัสดุสิ่งของในข้อใด จัดเป็นวัตถุแห่งอทินนาทาน

  • เจ้าของทิ้ง
  • เจ้าของหวง
  • เจ้าของให้
  • เจ้าของแจก

อทินนาทานมีโทษมาก เพราะเจ้าของมีคุณมาก ตรงกับข้อใด

  • พ่อแม่
  • เพื่อน
  • พี่น้อง
  • หลาน

อทินนาทานที่เกิดขึ้นทางวจีทวาร ตรงกับข้อใด

  • มีจิตคิดจะลัก
  • พยายามจะลัก
  • ลักด้วยตัวเอง
  • สั่งให้คนอื่นลัก

พฤติกรรมใด เรียกว่า กาเมสุมิจฉาจาร

  • จับปลาสองมือ
  • นับถือภรรยาตน
  • เป็นคนรักเดียว
  • ไม่เกี้ยวแฟนใคร

เจตนาเป็นเหตุให้กระทำวจีกรรมฝ่ายอกุศล ตรงกับข้อใด

  • ฆ่าสัตว์
  • เห็นผิด
  • ละโมบ
  • พูดปด

เจตนาเป็นเหตุให้คนพูดเท็จ เรียกว่าอะไร

  • มุสาวาท
  • ปิสุณาวาจา
  • สัมผัปปลาปะ
  • ผรุสวาจา

องค์ที่ทำให้มุสาวาทสำเร็จเป็นกรรมบถ ตรงกับข้อใด

  • เรื่องไม่จริง
  • จิตคิดจะพูด
  • พยายามพูด
  • คนอื่นเข้าใจ

คำพูดยุยงทำให้คนเข้าใจผิดต่อกัน เรียกว่าอะไร

  • มุสาวาท
  • ปิสุณวาจา
  • สัมผัปปลาปะ
  • ผรุสวาจา

คำพูดที่ไม่เกิดประโยชน์ทั้งแก่ผู้พูดและผู้ฟัง เรียกว่าอะไร

  • มุสาวาท
  • ผรุสวาจา
  • สัมผัปปลาปะ
  • ปิสุณวาจา

อภิชฌา โดยสภาวะ ได้แก่กิเลสใด

  • โลภะ
  • โทสะ
  • โมหะ
  • มานะ

พยาบาท โดยสภาวะ ได้แก่กิเลสใด

  • โลภะ
  • โทสะ
  • โมหะ
  • มานะ

ความคิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น ตรงกับข้อใด

  • จงอย่ามีเวรต่อกันเลย
  • จงอย่าทุกข์กายใจเลย
  • จงอย่าเบียดเบียนกัน
  • จงถึงความพินาศเถิด

ความคิดอาฆาตจองเวรผู้อื่น ควรแก้ด้วยวิธีใด

  • เจริญเมตตา
  • ภาวนาพุทโธ
  • ว่านโมให้จบ
  • สงบหยุดนิ่ง

จิตที่สหรคตด้วยอภิชฌา เป็นเหตุให้คนทำอกุศลกรรมใด

  • ฆ่าสัตว์
  • ลักทรัพย์
  • อาฆาต
  • พูดโกหก

จิตที่สหรคตด้วยพยาบาท เป็นเหตุให้คนทำอกุศลกรรมใด

  • เสพกาม
  • ลักทรัพย์
  • ฆ่าสัตว์
  • พูดโกหก

ความเห็นใด ปฏิเสธกรรมและผลแห่งกรรมอย่างสิ้นเชิง

  • สัมมาทิฏฐิ
  • มิจฉาทิฏฐิ
  • สักกายทิฏฐิ
  • สัสสตทิฏฐิ

ความเห็นใดไม่นับเข้าในนิยตมิจฉาทิฏฐิ

  • สัมมาทิฏฐิ
  • นัตถิกทิฏฐิ
  • อกิริยทิฏฐิ
  • อเหตุกทิฏฐิ

ความเห็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ เกิดจากอกุศลมูลใด

  • โลภะ
  • โทสะ
  • โมหะ
  • ถูกทุกข้อ

ความเห็นใด ไม่ใช่ความเห็นเป็นมิจฉาทิฏฐิ

  • โลกหน้าไม่มี
  • บาปบุญไม่มี
  • ตายแล้วสูญ
  • ทานมีผลจริง

บางคนมีจิตโกรธแค้น พูดสาปแช่งให้คนอื่นประสบความวิบัติจัดเป็นมโนกรรมเกิดขึ้นทางทวารใด

  • กายทวาร
  • วจีทวาร
  • มโนทวาร
  • ทุกทวาร

อกุศลกรรมบถใด เพียงแต่คิดในใจก็สำเร็จเป็นกรรมบถได้

  • กาเมสุมิจฉาจาร
  • ผรุสวาจา
  • สัมผัปปลาปะ
  • พยาบาท

กรรมบถใด จัดเป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล

  • มิจฉาทิฏฐิ
  • อภิชฌา
  • สัมมาทิฏฐิ
  • มุสาวาท

มีท่อนไม้และศัตราอันวางแล้ว หมายถึงข้อใด

  • หยุดทำร้ายกัน
  • หยุดลักขโมยกัน
  • หยุดใส่ร้ายกัน
  • หยุดปองร้ายกัน

ข้อใดกล่าวเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาได้ถูกต้อง

  • ตัดกรรมได้
  • ถอนกรรมได้
  • แก้กรรมได้
  • ได้รับผลกรรม

ข้อใดเป็นผลที่ได้จากการประพฤติกุศลกรรมบถโดยตรง

  • มนุษย์
  • สัตว์เดรัจฉาน
  • สัตว์นรก
  • เปรตอสุรกาย

บุคคลประพฤติอย่างไร เรียกว่า มีเมตตาวจีกรรม

  • งดทำร้ายกัน
  • งดปองร้ายกัน
  • งดป้ายสีกัน
  • งดลักขโมยกัน

สัมมาทิฏฐิ เป็นธรรมจริยาและสมจริยาทางใด

  • ทางกาย
  • ทางวาจา
  • ทางใจ
  • ถูกทุกข้อ

ผู้สละประโยชน์ส่วนตนให้แก่ส่วนรวม ได้ชื่อว่ามีอุปนิสัยใด

  • ทานูปนิสัย
  • สีลูปนิสัย
  • ภาวนูปนิสัย
  • ถูกทุกข้อ

กุศลกรรมบถ 10 ประการ จัดเข้าในหลักธรรมใด

  • ศีล
  • สมาธิ
  • ปัญญา
  • วิมุตติ