ปัญหาและเฉลยวิชาเบญจศีลเบญจธรรม  ธรรมศึกษาชั้นเอก พ.ศ. ๒๕๔๖

๑. พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อเรื่องใด ?

  1. ไสยศาสตร์
  2. ปาฏิหาริย์
  3. กรรม
  4. เทพเจ้า

๒. สิ่งใดสำคัญที่สุดในการกระทำกรรม ?

  1. เจตนา
  2. อารมณ์
  3. สังขาร
  4. การกระทำ

๓. กรรมที่ทำทางใจเรียกให้ถูกต้องเรียกว่าอะไร ?

  1. กายกรรม
  2. วจีกรรม
  3. มโนกรรม
  4. จิตรกรรม

๔. ผลของกรรม ทางธรรมเรียกว่าอะไร ?

  1. บุญกรรม
  2. เวรกรรม
  3. วิบากกรรม
  4. เจตนากรรม

๕. กรรมบถ หมายถึงอะไร ?

  1. การทำความดี
  2. การทำความชั่ว
  3. การทำกรรม
  4. ทางเกิดแห่งกรรม

๖. ผู้มักโกรธจะได้รับผลคืออะไร ?

  1. อายุสั้น
  2. ผิวพรรณทราม
  3. เป็นม่าย
  4. หาคู่ครองมิได้

๗. สิ่งที่ทำลายความชั่ว เป็นความหมายของคำใด ?

  1. อกุศล
  2. กุศล
  3. กรรม
  4. กรรมบถ

๘. ข้อใด ไม่ใช่อกุศลกรรมบถ ?

  1. สัมมาทิฏฐิ
  2. ปาณาติบาต
  3. อทินนาทาน
  4. มิจฉาทิฏฐิ

๙. ข้อใด จัดเป็นกุศลกรรมบถ ?

  1. พยาบาท
  2. มิจฉาทิฏฐิ
  3. อนภิชฌา
  4. อทินนาทาน

๑๐. กรรมใด เป็นทั้งอกุศลกรรมบถ และรากเหง้าของอกุศลอื่นด้วย ?

  1. อภิชฌาและมิจฉาทิฏฐิ
  2. มิจฉาทิฏฐิและพยาบาท
  3. อภิชฌาและอทินนาทาน
  4. อภิชฌาและพยาบาท

๑๑. รถยนต์ ไม่จัดเป็นอารมณ์ของกรรมบถข้อใด ?

  1. ปาณาติบาต
  2. อทินนาทาน
  3. อภิชฌา
  4. มิจฉาทิฏฐิ

๑๒. โทรศัพท์มือถือ ไม่จัดเป็นอารมณ์ของกรรมบถข้อใด ?

  1. อทินนาทาน
  2. อภิชฌา
  3. พยาบาท
  4. มิจฉาทิฏฐิ

๑๓. ข้อใดไม่ใช่ปาณาติบาตที่เกิดทางกาย ?

  1. ใช้มีดฟันให้ตายเอง
  2. ทำกับดักให้ตกไปตาย
  3. ใช้ปืนยิงให้ตาย
  4. พูดสั่งให้คนอื่นฆ่า

๑๔. ปาณาติบาตที่เกิดทางวจีทวาร มีลักษณะเช่นไร ?

  1. ใช้มีดฟันให้ตายเอง
  2. พูดสั่งให้คนอื่นฆ่า
  3. ใช้ปืนยิงให้ตาย
  4. เขียนใบสั่งให้ฆ่า

๑๕. ปาณาติบาต มีองค์กี่ประการ ?

  1. ๓ ประการ
  2. ๔ ประการ
  3. ๕ ประการ
  4. ๖ ประการ

๑๖. เพราะเหตุใด ปาณาติบาต จึงจัดว่าเป็นทุกขเวทนา ?

  1. เพราะฆ่าด้วยความเจ็บปวด
  2. เพราะฆ่าด้วยความโลภ
  3. เพราะฆ่าด้วยความโกรธ
  4. เพราะฆ่าด้วยความหลง

๑๗. ข้อใด ไม่จัดเป็นองค์ของปาณาติบาต ?

  1. สัตว์มีชีวิต
  2. รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
  3. พยายามฆ่า
  4. หลบหนี

๑๘. อทินนาทานในข้อใด มีโทษมากที่สุด ?

  1. ขโมยมะม่วงจากสวนข้างบ้าน
  2. ขโมยเงินจากตู้โทรศัพท์สาธารณะ
  3. ขโมยเงินจากตู้บริจาคในวัด
  4. ขโมยเงินของบิดา มารดา

๑๙. ปรทารคมนะ คือการประพฤติผิดในข้อใด ?

  1. ล่วงละเมิดทางเพศเด็กสาว
  2. ล่วงละเมิดทางเพศหญิงสาว
  3. ล่วงละเมิดทางเพศภรรยาคนอื่น
  4. ล่วงละเมิดทางเพศภรรยาตนเอง

๒๐. กาเมสุมิจฉาจารในข้อใด มีโทษมากที่สุด ?

  1. ประพฤติกับผู้สมยอม
  2. ประพฤติกับผู้มีคุณธรรม
  3. ประพฤติกับผู้ไม่ยินยอม
  4. ประพฤติกับญาติพี่น้อง

๒๑. มุสาวาท มีองค์กี่ประการ ?

  1. ๒ ประการ
  2. ๓ ประการ
  3. ๔ ประการ
  4. ๕ ประการ

๒๒. องค์ของมุสาวาทข้อสุดท้าย คือข้อใด ?

  1. จิตคิดจะพูดเท็จ
  2. เรื่องไม่จริง
  3. พยายามพูด
  4. คนอื่นรู้เรื่องนั้น

๒๓. ลักษณะของปิสุณวาจาคือข้อใด ?

  1. พูดหยาบ
  2. พูดให้แตกสามัคคี
  3. พูดไร้สาระ
  4. พูดหลอกลวง

๒๔. ข้อใด ไม่จัดเป็นผรุสวาจาที่เป็นกรรมบถ ?

  1. ด่าเพื่อนด้วยความโกรธ
  2. นักเรียนด่าครูที่ทำโทษตนเอง
  3. หลานด่าน้าที่ไม่ช่วยทำการบ้าน
  4. ครูด่านักเรียนที่ไม่ทำการบ้าน

๒๕. ข้อใด เป็นองค์ของผรุสวาจาที่ถึงความเป็นกรรมบถ ?

  1. มีคนถูกด่า
  2. มีจิตโกรธ
  3. ด่าต่อหน้า
  4. ด่าลับหลัง

๒๖. สัมผัปปลาปะ คือการพูดเช่นไร ?

  1. พูดเรื่องเที่ยวขณะเรียน
  2. พูดหลอกลวงครูขณะเรียน
  3. พูดคำหยาบขณะเรียน
  4. พูดยุให้เพื่อนแตกกันขณะเรียน

๒๗. ความโลภอยากได้ทรัพย์ของคนอื่นเป็นของตน เรียกว่าอะไร ?

  1. อทินนาทาน
  2. อภิชฌา
  3. พยาบาท
  4. มิจฉาทิฏฐิ

๒๘. ความโลภในข้อใด มีโทษมากที่สุด ?

  1. อยากได้ทีวีในห้าง
  2. อยากได้ที่ดินหลวง
  3. อยากได้ที่ดินธรณีสงฆ์
  4. อยากได้โทรศัพท์ของเพื่อน

๒๙. ความคิดใดไม่จัดเป็นพยาบาท ?

  1. คิดให้เพื่อนที่เรียนเก่งกว่าสอบตก
  2. คิดให้ตนเองเรียนเก่งกว่าคนอื่น
  3. คิดให้ครูที่ลงโทษตนเองตกงาน
  4. คิดให้เพื่อนที่ด่าตนเองรถคว่ำ

๓๐. ข้อใด ไม่จัดเป็นโทษที่ผู้มีจิตพยาบาทจะได้รับ ?

  1. เจ็บป่วยหมดทางรักษา
  2. ทรัพย์สินสูญหาย
  3. ชีวิตมีอุปสรรค
  4. ไม่มีเพื่อน

๓๑. เห็นว่าฆ่าคนไม่เป็นบาป จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิข้อไหน ?

  1. นัตถิกทิฏฐิ
  2. อเหตุกทิฏฐิ
  3. อกิริยทิฏฐิ
  4. อุจเฉททิฏฐิ

๓๒. เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ตรงกับข้อใด ?

  1. สัมมาทิฏฐิ
  2. สัมมาสังกัปปะ
  3. สัมมาอาชีวะ
  4. สัมมาวายามะ

๓๓. กรรมใด ให้ผลกว้างขวางและแรงกว่ากรรมอื่น ?

  1. กายกรรม
  2. วจีกรรม
  3. มโนกรรม
  4. อนันตริยกรรม

๓๔. ผลของความดี ความชั่ว เรียกว่าอะไร ?

  1. กิเลส
  2. กรรม
  3. วิบาก
  4. อานิสงส์

๓๕. เจตนางดเว้นจากการทำความชั่วเรียกว่าอะไร ?

  1. ศีล
  2. เวรมณี
  3. สิกขาบท
  4. กุศล

๓๖. ผู้ไม่ต้องการถูกทำร้ายร่างกาย ควรงดเว้นจากกรรมใด ?

  1. ปาณาติบาต
  2. สัมผัปปลาปะ
  3. พยาบาท
  4. อภิชฌา

๓๗. ผู้ฆ่าสัตว์จะได้รับผลเช่นไร ?

  1. ทำกินไม่ขึ้น
  2. ล้มละลาย
  3. ตายโหง
  4. อายุสั้น

๓๘. ผู้เบียดเบียนสัตว์จะได้รับผลอย่างไร ?

  1. มีทุกข์มาก
  2. มีโรคมาก
  3. มีหนี้มาก
  4. มีศัตรูมาก

๓๙. คนที่งดเว้นจากอทินนาทานจะได้รับผลเช่นไร ?

  1. ไม่ถูกทำร้ายร่างกาย
  2. ไม่ถูกหลอกลวง
  3. ทรัพย์สินไม่หาย
  4. ไม่ถูกด่า

๔๐. คนที่งดเว้นจากมุสาวาทจะเป็นคนเช่นไร ?

  1. น่าเคารพ
  2. น่ารัก
  3. น่าเชื่อถือ
  4. น่าบูชา

๔๑. คำพูดไม่สุภาพแข็งกร้าว ตรงกับข้อใด ?

  1. ผรุสวาจา
  2. ปิสุณวาจา
  3. สัมผัปปลาปะ
  4. มุสาวาท

๔๒. การบรรลุเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ จัดเป็นสมบัติในข้อใด ?

  1. มนุษยสมบัติ
  2. สวรรคสมบัติ
  3. พรหมสมบัติ
  4. นิพพานสมบัติ

๔๓. คำว่า “ สีเลน โภคสมฺปทา ” มีความหมายเช่นไร ?

  1. ไปสวรรค์ได้ด้วยศีล
  2. มีทรัพย์สมบัติได้ด้วยศีล
  3. บรรลุนิพพานได้ด้วยศีล
  4. จิตสงบได้ด้วยศีล

๔๔. ผู้มีทานูปนิสัยสามารถกำจัดอะไรได้ ?

  1. ความโลภ
  2. ความโกรธ
  3. ความหลง
  4. ความไม่รู้

๔๕. ผู้มีสีลูปนิสัย ย่อมมีพฤติกรรมเช่นไร ?

  1. ไม่โลภ
  2. เสียสละ
  3. ไม่เบียดเบียน
  4. ไม่จองเวร

๔๖. ผู้มีภาวนูปนิสัย ย่อมมีพฤติกรรมเช่นไร ?

  1. หมั่นให้ทาน
  2. รักษาศีล
  3. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
  4. พยายามทำความดี

๔๗. สิ่งที่เข้าไปยึดแล้วเป็นเหตุให้ทำดีทำชั่ว เรียกว่าอะไร ?

  1. อุปนิสัย
  2. อารมณ์
  3. โกฏฐาสะ
  4. เวทนา

๔๘. เวทนา คืออะไร ?

  1. ความรู้สึก
  2. ความเจ็บปวด
  3. ความสงสาร
  4. ความปรารถนา

๔๙. ข้อใด เป็นรากเหง้าของการทำความดี ?

  1. กุศลมูล
  2. อกุศลมูล
  3. อุปนิสัย
  4. สุจริต

๕๐. กาย วาจา ใจ รวมเรียกว่าอะไร ?

  1. ไตรลักษณ์
  2. ไตรสรณะ
  3. ไตรทวาร
  4. ไตรสิกขา